การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ขวัญตา กล้าการนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรพยาบาล โดยใช้วงจรเกลียว การวางแผนการปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนการปฏิบัติ
ใน 3 วงรอบ โรงพยาบาลอุทัยธานี ในห้องผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย และอายุรกรรมหญิง ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มบุคลากรพยาบาลที่พัฒนาแนวปฏิบัติ จำนวน 8 คน กลุ่มบุคลากรพยาบาล ที่นำแนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย จำนวน 82 คน
2) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในช่วงที่ดำเนินการวิจัย จำนวน 431 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แนวทางการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรพยาบาล แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ แบบวัดระดับความรู้และแบบเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย พิสัย
เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที และสถิติไคสแควร์   

            ผลการวิจัยภายหลังการพัฒนา ได้แนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ โดยบุคลากรมีส่วนร่วมในการออกแบบการปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) การซักประวัติและการสื่อสาร 2) การติดตามผลการเพาะเชื้อ 3) การแยก
ผู้ป่วย 4) การสวมเครื่องป้องกันร่างกาย 5) การแยกชุดอุปกรณ์ผู้ป่วย 6) การทำความสะอาดมือ 7) การทำความสะอาด
สิ่งแวดล้อม 8) การให้คำแนะนำญาติ/ผู้ดูแล 9) การจัดลำดับการพยาบาล และ 10) การยุติการแยกผู้ป่วย ภายหลังการพัฒนาคะแนนความรู้ของบุคลากรพยาบาลเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนการพัฒนา ร้อยละการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 64.59 เป็นร้อยละ 95.27 และการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพควบคุมพิเศษในโรงพยาบาลลดลง จากร้อยละ 5.14 เป็น ร้อยละ 1.38

 

คำสำคัญ : แนวปฏิบัติ, เชื้อแบคทีเรียดื้อยา, การมีส่วนร่วม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)