การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ประกายดาว จานนอก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และแนวปฏิบัติ โรงพยาบาลบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา

            วิธีการศึกษา : รวบรวมข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยโรงพยาบาล โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ เป็นการศึกษาผู้ป่วย
3 ระยะ คือ ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง และระยะจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลตามแบบแผนทฤษฎีทางการพยาบาลของกอร์ดอน กระบวนการพยาบาล และแนวคิด 7 Aspects of care เป็นกรอบแนวคิดในการดูแลปัญหาที่พบ 1) มีภาวะช็อก 2) มีภาวะพร่องออกซิเจน 3) มีไข้ 4) มีภาวะน้ำเกิน 5) ปวดท้อง 6) วิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย 7) ขาดความรู้เรื่องโรคที่เป็น

            ผลการศึกษา : ผู้ป่วยชายไทย อายุ 64 ปี มีโรคประจำตัว เก๊าท์ แพทย์หยุดยามา 2 ปี น้ำหนัก 55 Kgs. ส่วนสูง 165 Cms. BMI 20.20 kg/m2 มาโรงพยาบาลด้วยอาการ ไข้ ถ่ายเหลว ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่หลังกินลาบหมูดิบ มีผื่นแดงที่ลำคอ เหนื่อยเพลียมากก่อนมา 4 ชั่วโมง V/S แรกรับ อุณหภูมิกาย 38.9 องศาเซลเซียส, ความดันโลหิต 82/54 mm.Hg, ชีพจร 92 ครั้ง/นาที, หายใจ 20 ครั้ง/นาที, O2Sat 94% Room Air, SOS 5 คะแนน แพทย์วินิจฉัย Streptoccoccus suis Septicemia นอนโรงพยาบาลให้ยา Ceftriazone 2 gm. Vein OD จนครบ 14 วัน ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉินที่มีความซับซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้นกับอายุสุขภาพเดิมของผู้ป่วย แหล่งการติดเชื้อชนิดเชื้อที่เป็นสาเหตุถึงแม้ว่าระบบการดูแลภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

            สรุป : จากกรณีศึกษาพบว่าการมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนตั้งแต่การประเมิน การเฝ้าระวัง ติดตามอาการและอาการแสดงเกณฑ์การรายงานแพทย์ของผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด จะทำให้การดูแลรักษาถูกต้อง รวดเร็ว ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย

 

คำสำคัญ : การพยาบาล, ติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะช็อก

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)