การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดร่วมกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ ฤทธิ์ไธสง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดร่วมกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้คลอดที่เข้ารับการรักษาที่ห้องคลอด โรงพยาบาลประทาย นครราชสีมา ในปี 2566 รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติเป็นการศึกษาการพยาบาล 3 ระยะคือ ระยะก่อนคลอด ระยะคลอดและระยะหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน พยาธิสภาพ อาการและการแสดง การรักษา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล

            ผลการศึกษา พบว่า ผู้คลอดมาโรงพยาบาลด้วยอาการ เจ็บครรภ์คลอด น้ำเดิน มีไข้ ปวดศีรษะ แรกรับ G2P1A0L1 GA 35+6 weeks ปากมดลูกเปิด 5 เซนติเมตร ความบาง 80% ส่วนนำเป็นศีรษะ ระดับส่วนนำ 0 ถุงน้ำคร่ำแตก ผลตรวจ Covid -19 rapid test (ATK) : positive ได้ย้ายเข้าห้องแยกโรคความดันลบ หลังจากรับไว้โนโรงพยาบาล ประมาณ 3 ชั่วโมง 40 นาที ผู้คลอดได้คลอดปกติเวลา 20.35 น. ตัดฝีเย็บ RML episiotomy รกและเยื่อหุ้มรกคลอดครบ เสียเลือดจากการคลอด 100 มิลลิลิตร สัญญาณชีพปกติ ผู้คลอดรักษาตัวในโรงพยาบาล 3 วัน ส่วนทารกเพศชาย น้ำหนัก 2,690 กรัม มีภาวะตัวเหลืองและติดเชื้อ ไม่ติดโรคไวรัสโคโรนา 2019 จากมารดา ได้รับยาปฏิชีวนะจนครบ 7 วัน ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพควรมีความรู้และทักษะในการประเมินผู้คลอด กระบวนการทำคลอดรวมทั้งการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดเพื่อให้ผู้คลอดและทารกมีความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและลดอัตราตายได้

 

คำสำคัญ : ภาวะคลอดก่อนกำหนด, ภาวะติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)