การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการติดตามสุขภาพทางไกล (Telehealth) โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สมควร ธนาพิบูลย์ผล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์ : เพื่อการพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการติดตามสุขภาพทางไกล (Telehealth)

            วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ทีมสหวิชาชีพ จำนวน 12 คน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 672 คน เครื่องมือดำเนินงานวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการตนเองผู้ป่วยเบาหวาน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมเทคโนโลยีติดตามสุขภาพทางไกล ประกอบด้วย 1) Application
2) Line Program Zoom meeting และ 3) Program HosXP ดำเนินการ 4 ระยะ ได้แก่ การวางแผน ปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ pai t-test

            ผลการศึกษา : พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการดูแลรักษาผ่านทางระบบแพทย์ทางไกลติดตามสุขภาพ ให้ความรู้ คำแนะนำในการปฏิบัติพฤติกรรมที่เหมาะสมโดยพยาบาลผู้จัดการรายกรณี พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 672 คน มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองรวมทุกด้านเพิ่มขึ้นจาก 2.64 เป็น 4.37 ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเฉลี่ย (HbA1C) ลดลงจาก 8.49 เป็น 7.69 ทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก ผู้ป่วยเบาหวานมีความพึงพอใจจากระดับปานกลางเพิ่มขึ้นเป็นระดับมาก
ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            บทสรุป : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการดูแลรักษาผ่านทางระบบแพทย์ทางไกลนี้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองส่งผลให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพ
ที่เหมาะสม และคุมโรคได้ดีขึ้น

           

คำสำคัญ : รูปแบบการดูแล ผู้ป่วยเบาหวาน เทคโนโลยีในการติดตามสุขภาพทางไกล

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-28

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)