การพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในผู้ต้องขังสูงอายุเรือนจำกลางสงขลา

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศิริ อัตถาวงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            ผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำเป็นกลุ่มเปราะบาง ไม่มีครอบครัวดูแล มีปัญหาทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ การจัดการสุขภาพมีข้อจำกัดด้วยบริบท เรือนจำกลางสงขลา มีผู้ต้องขังสูงอายุ ร้อยละ 1.6 พบว่า มีโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 11.67 และ ร้อยละ 41.67 มีความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด ถึง ร้อยละ 48.37 หากไม่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่ดี
มีโอกาสเจ็บป่วย เป็นภาระตามมาได้ โรงพยาบาลสงขลา แม่ข่ายส่งเสริมสุขภาพผู้ต้องขังสูงอายุเฉพาะ ซึ่งไม่เคยมีการดำเนินการในเรือนจำมาก่อน ถือเป็นความท้าทายในการจัดกิจกรรมในสถานที่ที่เข้มงวด ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการส่งเสริมสุขภาพ พัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในผู้ต้องขังสูงอายุเรือนจำกลางสงขลา และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในผู้ต้องขังสูงอายุเรือนจำกลางสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ซึ่งดำเนินการ เดือนมิถุนายน ถึง พฤศจิกายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังสูงอายุ คัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง จำนวน 60 คน เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ
เก็บข้อมูลโดยใช้แบบคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 15 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เนื้อหา และความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษา เกิดรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในผู้ต้องขังสูงอายุเรือนจำกลางสงขลา และประสิทธิผลของรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า ก่อนเข้าโครงการ การคุม DM ร้อยละ 42.8 และหลัง ร้อยละ 100 การคุม HT ก่อน ร้อยละ 60.0 และหลัง
ร้อยละ 84.0 การนอนไม่หลับ ก่อน ร้อยละ 26.7 และหลัง ร้อยละ 16.6 ภาวะซึมเศร้า ก่อน ร้อยละ 20.0 และหลัง ร้อยละ 6.67 มีปัญหาช่องปาก ก่อน ร้อยละ 83.3 และหลัง ร้อยละ 75.0 เสี่ยงภาวะหลอดเลือดสมอง ก่อนและหลัง เท่าเดิม ร้อยละ 15.0 สรุปได้ว่าผู้ต้องขังสูงอายุทุกรายเข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่มีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพดีขึ้น

 

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, โรงเรียนผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้ต้องขังสูงอายุ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-28

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)