การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม บ้านหนองแวง ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา วัฒนประไพจิตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ         

            การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ประเมินก่อนและหลังการพัฒนาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คัดเลือกโดยใช้วิธีแบบเจาะจง จากผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและมีภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้มจากการประเมิน Thai Falls Risk Assessment test (Thai-FEAT) จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล เชื่อมโยงและสร้างข้อสรุป

            ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ
1) ตั้งเป้าหมาย 2) รวบรวมข้อมูล 3) ประมวลผลข้อมูล 4) การตัดสินใจ 5) ลงมือปฏิบัติ และ 6) สะท้อนการปฏิบัติ พบว่า รูปแบบการจัดการตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม บ้านหนองแวง ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภายใต้แนวคิด Chair Model ประกอบด้วย C : Community มีการประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุคืนข้อมูลปัญหาของผู้สูงอายุติดบ้านเพื่อจัดแบ่งพื้นที่การดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน แบ่งเป็น 5 คุ้ม h : heart จับคู่ดูแลสุขภาพกันเองและเพื่อส่งเสริมออกกำลังกาย ร่วมกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารลดหวาน มัน เค็ม ถามไถ่ แลกเปลี่ยนข่าวสารให้กำลังใจซึ่งกันและกัน จำนวน 15 คู่  a : appreciate มีทีมพี่เลี้ยงติดตามเสริมแรง เสริมพลังใจแก่
ผู้สูงอายุและมีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของตนเอง ในสมุดบันทึกสุขภาพ i : implement เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุ แกนนำสุขภาพ (Health Maker) ประจำคุ้ม ให้ความรู้และฝึกทักษะเรื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุโดยใช้เก้าอี้ ยืดเหยียดประกอบเพลงพื้นบ้าน 5 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 3 เดือน ประเมินสภาวะสุขภาพ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม ลด หวาน มัน เค็ม Health Maker ผู้สูงอายุและญาติร่วมกันจัดสภาพบ้านเรือนให้เหมาะสมเพื่อลดอุบัติเหตุหกล้ม r : resource sharing มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

             โดยสรุป ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย 1) ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน เกิดความมั่นในการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนและรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง หลังการประเมินตามขั้นตอนที่ได้วางแผนในการจัดการสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มเป็นไปตามเป้าหมาย มีแกนนำสุขภาพ (Health Maker) ที่เข้มแข็ง 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณและเป็นเจ้าภาพหลัก 3) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยง 4) ประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือทุกกระบวนการ  

คำสำคัญ : ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน, พัฒนารูปแบบ, การจัดการตนเองม เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-28

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)