การพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (DHF) : กรณีศึกษา
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โรคไข้เลือดออกเดงกีเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ของไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายกระบวนการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมความปลอดภัยในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกีในโรงพยาบาลย่านตาขาว จังหวัดตรัง โดยใช้วิธีการศึกษาแบบกรณีศึกษา 2 กรณี ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างของการได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็นไข้เลือดออกในระยะเวลาที่แตกต่างกัน และการวางแผนการพยาบาลที่แตกต่างกัน กรณีศึกษาแรกเป็นหญิงอายุ 49 ปี ได้รับการวินิจฉัยโรคได้วันที่ 3 ของการรักษาที่โรงพยาบาล ในขณะที่กรณีศึกษาที่ 2 เป็นหญิงอายุ 20 ปี ได้รับการวินิจฉัยได้ถูกต้องตั้งแต่วันแรกที่รักษา
กระบวนการพยาบาลมีความสำคัญมากในการทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย ด้วยการจัดกิจกรรมการทางการพยาบาลที่สำคัญ อาการเตือนที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะสูญเสียการทำหน้าที่ของระบบไหลเวียนโลหิตจากภาวะ severe thrombocytopenia อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังลดการแพร่ระบาดด้วยการประสานงานกับทีมเฝ้าระวังสืบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team) อย่างรวดเร็ว ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าหากต้องการให้ผู้ป่วยปลอดภัย โรงพยาบาลย่านตาขาวควรจัดทำแนวปฏิบัติสำหรับการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในระยะเริ่มต้นตามข้อเสนอขององค์การอนามัยโลก และแนวทางการพยาบาลเพื่อป้องกันระบบการไหลเวียนล้มเหลวจากภาวะ severe thrombocytopenia ก่อนส่งต่อโรงพยาบาลขนาดใหญ่
คำสำคัญ โรคไข้เลือดออก, กรณีศึกษา, การพยาบาล