ปัจจัยที่มีผลต่อการเลื่อนออกนอกกระดูกจากการรักษาด้วยโลหะยึดตรึงกระดูก ในผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนบนหัก

ผู้แต่ง

  • Chitpon Sinchai

บทคัดย่อ

                                                                                                               บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเลื่อนออกนอกกระดูกที่มากเกินไปของอุปกรณ์ใบมีดเกลียวในผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนบนหักที่ได้รับการผ่าตัดรักษาด้วยการใช้โลหะยึดตรึงกระดูกชนิดยึดแกนกลางโพรงกระดูก

           วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์ของข้อมูลภาพรังสีของผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนบนหัก จำนวน 105 คน ที่ผ่าตัดรักษาด้วยการใช้โลหะยึดตรึงกระดูกชนิดแกนกลางโพรงกระดูก วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลภาพรังสี และระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลื่อนออกนอกกระดูกของอุปกรณ์ใบมีดเกลียว วิเคราะห์สถิติเชิงบรรยายโดยใช้ จำนวนและร้อยละ หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ multiple logistic regression

           ผลการวิจัย: ระยะการเลื่อนออกนอกกระดูกของอุปกรณ์ใบมีดเกลียว เฉลี่ย 3.53±4.64 มิลลิเมตร พบภาวะการเลื่อนออกนอกกระดูกที่มากเกินไปของอุปกรณ์ใบมีดเกลียว 22 คน (ร้อยละ 20.95) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลื่อนออกนอกกระดูกที่มากเกินไปของอุปกรณ์ใบมีดเกลียว คือ เพศหญิง (Adjusted OR = 5.82, 95%CI = 1.22-27.71), การหักแบบไม่มั่นคง (Adjusted OR = 4.87, 95%CI = 1.23-19.34) และความเหมาะสมของการทำให้กระดูกกลับเข้าที่แบบไม่อยู่ในเกณฑ์ดี (Adjusted OR = 6.17, 95%CI = 1.58-24.02)

           สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลื่อนออกนอกกระดูกที่มากเกินไปของอุปกรณ์ใบมีดเกลียวในการรักษากระดูกต้นขาส่วนบนหักด้วยด้วยโลหะยึดตรึงกระดูกชนิดแกนกลางโพรงกระดูก คือ เพศหญิง การหักแบบไม่มั่นคง และความเหมาะสมของการทำให้กระดูกกลับเข้าที่แบบไม่อยู่ในเกณฑ์ดี ควรพยายามทำให้กระดูกกลับเข้าที่ให้ได้ตามแนวกระดูกเดิมหรือให้ได้ตามเกณฑ์ดีให้มากที่สุด เพราะเป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้นอกเหนือจาก เพศ และ ลักษณะการหักของกระดูก เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

 

คำสำคัญ : กระดูกต้นขาส่วนบนหัก, โลหะยึดตรึงกระดูกชนิดแกนกลางโพรงกระดูก, การเลื่อนออกด้านนอก

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-11-10

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)