พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ภายหลังการใช้ โปรแกรมการป้องกันโรควัณโรค ในบุคลากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
จากการศึกษาพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ภายหลังการใช้ TB Program ในบุคลากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ในบุคลากรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 118 คน ใช้เครื่องมือแบบสอบถามและประเมินการป้องกันโรค นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 52.5 มีช่วงอายุ 31 – 40 ปี ร้อยละ 36.4 มีสถานภาพ สมรสคู่ ร้อยละ 53.4 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน อยู่ระหว่าง 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 52.6 มีตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 38.1 มีผลการตรวจสุขภาพประจำปี 2562 ปกติ ร้อยละ 64.4 และไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 57.8 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ โรควัณโรค อยู่ในเกณฑ์ ไม่ดี ร้อยละ 34.7 รองลงมา อยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 33.9 ทัศนคติในเรื่อง การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรควัณโรค อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 43.2 รองลงมา อยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ร้อยละ 29.7 มีพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค อยู่ในเกณฑ์ พอใช้ ร้อยละ 51.7 จากการทดสอบความสัมพันธ์ เพศ, ตำแหน่งงาน, ความรู้และทัศคติในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ โรควัณโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค