Incidence and Risk Factor in Continuous ambulatory peritoneal dialysis patients
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ภาวะไตวายเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพได้ให้นโยบายการล้างไตทางช่องท้องเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยไตวาย ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการติดเชื้อ การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อัตราการติดเชื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการติดเชื้อทางท้องในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึงเดือนมกราคม 2563 ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องที่หน่วยไตเทียมโรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามจำนวน 130 คน โดยเก็บข้อมูลทางคลินิก อัตราการติดเชื้อ สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มโดยใช้การทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องมีจำนวนทั้งสิ้น 130 คน
มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 22 ราย คิดเป็นอัตราการติดเชื้อ 0.20 ครั้ง/ราย/ปี โดยพบลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อคือผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีค่าอัลบูมินน้อยกว่ากว่า3.5 g/dL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.028)
คำสำคัญ: การติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องอักเสบ, ปัจจัยเสี่ยง, การล้างไตทางช่องท้อง