การพยาบาลผู้ป่วยหัวใจสั่นพลิ้วที่รับประทานยาวาร์ฟารินในคลินิก : กรณีศึกษา
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
กรณีศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ : ศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยหัวใจสั่นพลิ้วที่รับยาวาร์ฟารินในคลินิกวาร์ฟาริน
วิธีการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลตรัง ดำเนินการศึกษาระหว่าง วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ สังเกต และเวชระเบียน
ผลการศึกษา
พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 รายมีความเหมือนและแตกต่างกันในด้านปัจจัยต่างๆดังนี้
การวินิจฉัยโรค พบว่าจะเห็นว่าผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีประวัติโรคร่วมซึ่งเป็นปัจจัยของการเกิดโรค Atrial fibrillation ซึ่งตรงกับที่สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยได้กล่าวไว้1
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค จะพบว่าผู้ป่วยรายที่ เป็นโรคไข้รูมาติกและผู้ป่วยรายที่ 2 มีประวัติสูบบุหรี่ ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นโรคไข้รูมาติกและผู้ป่วยรายที่ 2 มีประวัติสูบบุหรี่และมีโรคร่วมคือหัวใจขาดเลือดซึ่งทั้ง 2 รายมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค AF
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยรายที่ 1 มาด้วยอาการภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานยาวาร์ฟารินเกินขนาด รายที่ 2 อาการและอาการแสดงปกติแต่หากดูจาก chest Xray มีภาวะ pulmonary edema ผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้รับยาละลายลิ่มเลือดเหมือนกันแต่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต่างกันผู้ป่วยรายที่ 1 มีภาวะเลือดออกจากยาวาร์ฟารินเกินขนาดได้รับยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อให้เลือดแข็งตัวและหยุดยาวาร์ฟารินส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 มีภาวะแทรกซ้อนจากตัวโรคยังคงรับประทานยาละลายลิ่มเลือดในขนาดเท่าเดิมแต่เพิ่มยาขับปัสสาวะ ซึ่งผลการตอบสนองยาวาร์ฟารินมีความสัมพันธ์ อายุ ดัชนีมวลกายภาวะโรคร่วม เพศ ส่วนสูง การดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ ไม่มีผลต่อปริมาณยาที่ได้รับการเกิดโรค
กรณีศึกษาทั้งสองรายนี้มีความคล้ายคลึงกันจากพยาธิสภาพของโรคหัวใจสั่นพลิ้วซึ่งต้องรับประทานยาวาร์ฟารินเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดผู้ป่วยมีปัจจัยด้านคลินิกซึ่งมีผลต่อการตอบสนองต่อยาวาร์ฟารินที่มีความสัมพันธ์ต่อขนาดยาวาร์ฟาริน ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย ภาวะโรคร่วม (Comorbility) อันได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว (CHF) และภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนปัจจัยทางคลินิกที่ไม่มีผลต่อการตอบสนองต่อยาวาร์ฟาริน ได้แก่ เพศ น้ำหนักตัว ส่วนสูง สำหรับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ ไม่มีผลกับปริมาณยาที่ได้รับ แต่การรับประทานอาหารที่มีวิตามินเคสูงมีผลต่อการทำให้ได้รับยาวาร์ฟารินขนาดสูงการดูแลตนเองของผู้ป่วยทั้งสองรายมีความพร่องที่เหมือนกัน ได้แก่ การทราบเหตุผลในการรับประทานยาวาร์ฟาริน การปฏิบัติตัวเมื่อลืมรับประทานยาวาร์ฟาริน การออกกำลังกายในขณะที่รับประทานยาวาร์ฟาริน การรับประทานยาอื่นที่มีผลต่อการใช้ยาวาร์ฟาริน และการรับประทานผัก คะแนนความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยรายแรกจาก ร้อยละ 75 หลังจากให้คำแนะนำคะแนนสูงขึ้นเป็น ร้อยละ 95 คะแนนความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยรายที่สองจาก ร้อยละ 90 หลังจากให้คำแนะนำคะแนนสูงขึ้นเป็น ร้อยละ 100 ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในผู้ป่วยรายแรก
สรุป : บทบาทพยาบาลประจำคลินิกวาร์ฟารินจึงมีสำคัญในการประเมินปัญหาผู้ป่วยก่อนพบแพทย์ พยาบาลจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจพยาธิสภาพของโรค ความรู้เกี่ยวกับยาวาร์ฟาริน และการออกแบบการประเมินความรู้ในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยรับประทานยาวาร์ฟารินจะทำให้การประเมินผู้ป่วยได้ครอบคลุมขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการตรวจจากแพทย์แล้วมีการปรับเปลี่ยนการรักษาพยาบาลจะต้องอธิบายและวางแผนการจำหน่ายโดยให้คำแนะนำกับผู้ป่วยทั้งด้านการปฏิบัติตัวและการรับประทานยาอย่างถูกต้องรวมทั้งการประเมินประสิทธิภาพจากการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยและสามารถอยู่กับโรคได้อย่างมีความสุขไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
คำสำคัญ : ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว, ยาวาร์ฟาริน