การสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • Yutamas Wandao

บทคัดย่อ

                                                                                                               บทคัดย่อ

               วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแนวปฏิบัติระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสะเดา ใช้กรอบแนวคิดวงจรพัฒนาคุณภาพของเดมิ่ง กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง คือ แพทย์ที่ทำการตรวจผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและพิจารณารับเป็นผู้ป่วยใน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ระบบการคัดแยกผู้ป่วยตามแนวทางปฏิบัติและแบบฟอร์มคำสั่งการรักษาของแพทย์ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และแบบสอบถามความเป็นไปได้ต่อการนำไปใช้แนวปฏิบัติ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความง่ายและความสะดวกต่อการนำไปใช้ 2) ความชัดเจนของแนวปฏิบัติ (เป็นที่เข้าใจตรงกัน) และ 3) ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติต่อการนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการศึกษาพบว่า วงจรการพัฒนาคุณภาพของเดมิ่งตามหลัก PDCA สามารถสร้างและพัฒนาคุณภาพแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ได้แต่ละขั้นตอน คือ Plan และ Do พัฒนาเป็นระบบการคัดแยกและเกิดแบบฟอร์มคำสั่งการรักษาของแพทย์ Check และ Act สรุปผลรูปแบบของความเป็นไปได้ได้ดังนี้ ด้านระบบการคัดแยกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=2.62; SD=0.52) และแบบฟอร์มคำสั่งการรักษาของแพทย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=2.81; SD=0.41) ตามลำดับ ทั้งนี้ควรมีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและทบทวนแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง

 

คำสำคัญ: แนวปฏิบัติทางคลินิก การดูแลประคับประคอง ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย บทบาทแพทย์

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-11-10

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)