การปรับปรุงคุณภาพน้ำอุปโภคด้านชีวภาพของหัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • Natchaphon Naksrinuan

บทคัดย่อ

                                                                                                                บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าศักยภาพการเกิดออกซิเดชัน รีดักชัน (Oxidation Reduction Potential, ORP) ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำอุปโภคด้านชีวภาพของศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  โดยวางแผนการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา (Experimental in Research and Development) ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำสำหรับอุปโภคในศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปีงบประมาณ 2562 (1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทำการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า เมื่อทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำอุปโภค จำนวน 329 จุด แยกเป็น จุดปลายท่อที่ต้นทาง จำนวน 10 จุด จุดที่มีความเสี่ยง จำนวน 319 จุด พบจุดที่คุณภาพของน้ำอุปโภคที่ผ่านเกณฑ์ประเมินทางกายภาพจำนวน 322 จุด คิดเป็นร้อยละ 97.87 ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินจำนวน 7 จุด คิดเป็นร้อยละ 2.13 เมื่อทำการประเมินคุณภาพทางด้านชีวภาพ พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานโดยพบปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดเกินมาตรฐาน (>500 CFU/ml) จำนวน 2 จุด คิดเป็นร้อยละ 0.61 พบ Coliform และ Fecal coliform เกินมาตรฐาน (>1.1 MPN/100 ml) จำนวน 7 และ 3 จุด คิดเป็นร้อยละ 2.13 และ 0.91 ตามลำดับ เมื่อทำการประเมินมาตรฐานทั้ง 2 ด้าน พบว่า คุณภาพของน้ำอุปโภคที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 314 จุด คิดเป็นร้อยละ 95.44 ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินจำนวน 15 จุด คิดเป็นร้อยละ 4.56 เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่า ORP, pH และปริมาณสารคลอรีนในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำอุปโภค พบว่า ค่า ORP และ pH ที่เหมาะสมในการทำลายเชื้อโคลิฟอร์มอยู่ในช่วง 690-700 mV และ 8.5-9 ตามลำดับ และหากเติมปริมาณคลอรีน 12 ppm ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโคลิฟอร์มในน้ำจะสูงที่สุด

คำสำคัญ : คุณภาพด้านชีวภาพ, น้ำอุปโภค, ค่าศักยภาพการเกิดออกซิเดชัน รีดักชัน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-11-10

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)