ผลการศึกษาทางคลินิกของภาวะกระดูกหน้าอกแยกชนิดไม่ติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

ผู้แต่ง

  • ธำรง ก้องเกรียงไกร วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

                                                                                                                บทคัดย่อ

           บทนำ ภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อของกระดูกหน้าอกภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดกระดูกหน้าอกตามแนวกลางมีผลเพิ่มความเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ของการแยกของกระดูกหน้าอกโดยที่ไม่มีการติดเชื้อยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน การศึกษานี้ได้พิจารณาลักษณะก่อนการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด และผลลัพธ์ของการติดตามการรักษาระยะยาวของผู้ป่วยหลังจากที่ได้ผ่าตัดใหม่แก้ไขภาวะกระดูกหน้าอกแยกแบบไม่ติดเชื้อเพื่อกำหนดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหน้าอกแยก

           วิธีการศึกษา ทบทวนย้อนหลังเชิงวิเคราะห์ของฐานข้อมูลการผ่าตัดหัวใจระหว่างปี 2557 ถึง 2563 พบว่า มีผู้ป่วย 6 ราย ที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกหน้าอกแยกตัว จากภาวะกระดูกหน้าอกแยกโดยปราศจากการติดเชื้อจากผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดกระดูกหน้าอกตามแนวกลางทั้งหมด 710 ราย การตรวจสอบรวมถึงการวินิจฉัยโรค ลักษณะของประชากรก่อนการผ่าตัด ความเจ็บป่วยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องและผลการผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกหน้าอกแยกตัว ซึ่งผู้ป่วยที่มาติดตามอาการภายหลังออกจากโรงพยาบาลโดยสอบถามอาการและตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อติดตามการรักษา และเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วย จำนวน 120iราย ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดกระดูกแนวกลางหน้าอกแต่ไม่มีภาวะ
แทรกซ้อนเกิดภาวะกระดูกหน้าอกแยกแบบไม่ติดเชื้อ

           ผลการศึกษา อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เปิดใหม่ คือ 64.8i+/-i6.8 ปี โดยเป็นผู้ป่วยชายทั้งหมด การวิเคราะห์หลายตัวแปรระบุว่ามีสมรรถภาพของการดำเนินชีวิตประจำวันตามที่สมาคมโรคหัวใจนิวยอร์คกำหนดไว้เป็น ขั้นที่ IV,iและมีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อนการผ่าตัด มีปัญหาการไอเรื้อรังภายหลังการผ่าตัด สำหรับ อุบัติการณ์ของการเกิดกระดูกหน้าอกแยกอยู่ที่ 0.77% ในช่วงเวลาเฉลี่ยระหว่างการดำเนินการเริ่มต้นและการเปิดใหม่ 1.4 สัปดาห์ ผู้ป่วยทั้ง 6 ราย จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดยึดกระดูกหน้าอกใหม่เพิ่มเติม ภายหลังการผ่าตัดใหม่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อหลังเกิดขึ้น  ผลการติดตามการรักษาในระยะยาว พบว่า ไม่มีปัญหาการทำกิจวัตรประจำวันปกติ มีอาการปวดกระดูกหน้าอกไม่รุนแรงเมื่อทำกิจวัตรประจำวันเป็นครั้งคราว   

           สรุปผลการวิจัย การติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกหน้าอกแยก แบบไม่มีการติดเชื้อจะมีผลการรักษาที่ดี แต่การประเมินผู้ป่วยว่ามีปัจจัยเสี่ยง และแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะกระดูกหน้าอกแยกภายหลังผ่าตัดหัวใจเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอ

คำสำคัญ : ภาวะกระดูกหน้าอกแยก, การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, การผ่าตัดยึดกระดูกหน้าอก

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)