กระบวนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชนมีส่วนร่วมกับทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ณัฐพณ บุตตะโยธี วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

                                                                                                               บทคัดย่อ

           ผู้ป่วยจิตเภท เป็นผู้ป่วยทางจิตที่มีความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชนมีส่วนร่วมกับทีมสหวิชาชีพ 2) ศึกษาผลลัพธ์ของการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชนมีส่วนร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 84 คน โดยคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง การวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วางแผน 2) ปฏิบัติ 3) สังเกตการณ์ และ 4) สะท้อนผลการปฏิบัติงาน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนปฏิบัติการการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและแบบติดตามผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าจำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีส่วนร่วมโดยชุมชนและทีมสหวิชาชีพ แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเภทตามทางการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการกำกับติดตามผู้ป่วยจิตเภท ภายหลังการนำกระบวนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชนมีส่วนร่วมกับทีมสหวิชาชีพไปใช้ในผู้ป่วยจิตเภท พบว่า เมื่อติดตามผลระยะยาวเวลา 90 วัน ไม่พบผู้ป่วยจิตเภทที่เข้าร่วมงานวิจัยกลับเป็นซ้ำ และมีค่าคะแนนจากการประเมินอาการทางจิตน้อยกว่า 36 ถือว่ามีอาการระดับน้อย ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากระบวนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานชุมชนที่ตระหนักถึงปัญหาและต้องการแก้ไขตามบริบทของพื้นที่ สามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : ผู้ป่วยจิตเภท, กลับเป็นซ้ำ, ชุมชนมีส่วนร่วม, การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)