ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาลพิจิตร

ผู้แต่ง

  • สุภชา คำเขียน วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

                                                                                                               บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาลพิจิตร ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาลพิจิตรและศึกษาปัญหาอุปสรรคข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาลพิจิตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในโรงพยาบาลพิจิตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 300 คน เครื่่องมือที่่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไควสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาด้วยการบรรยาย
สรุปความ

           ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรในโรงพยาบาลพิจิตร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 245 คน (ร้อยละ 81.67) มีอายุเฉลี่ย 39.73 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 163 คน (ร้อยละ 54.33) มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 24,583.86 บาท สถานภาพสมรสคู่ จำนวน 157 คน (ร้อยละ 52.33) มีตำแหน่งทางด้านการรักษาพยาบาล จำนวน 243 คน (ร้อยละ 81.00) ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการและประสบการณ์การปฏิบัติงานเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อเฉลี่ย 15.08 ปี เคยเข้าร่วมการอบรม/สัมมนา/ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 182 คน (ร้อยละ 60.67) และเคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 259 คน (ร้อยละ 86.33)

           บุคลากรในโรงพยาบาลพิจิตรมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด (ร้อยละ 69.33, 58.00 และ 59.67 ตามลำดับ) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ ตำแหน่งงาน การได้รับการอบรม/สัมมนา/ประชุมชี้แจงและการได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาลพิจิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

          ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พบปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอไม่ทราบแนวทางการปฏิบัติ มีทัศนคติและพฤติกรรมไม่ถูกต้อง การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารค่อนข้างน้อย บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะและสถานที่มีไม่เพียงพอ
ไม่สะดวก การติดตามควบคุมกำกับและประเมินผลงานไม่ต่อเนื่องและขาดแรงจูงใจ ข้อเสนอแนะ คือ ควรประกาศเป็นนโยบาย กำหนดมาตรการและข้อตกลงร่วมกัน จัดอบรมให้
คำแนะนำ รณรงค์เผยแพร่ความรู้ข่าวสารส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติพฤติกรรมและมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้ถูกต้องและเหมาะสมทุกขั้นตอน สนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะจัดสภาพแวดล้อมและสถานที่ให้เหมาะสมและเพียงพอ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวดผลงาน/นวัตกรรม สร้างแรงจูงใจ ตรวจสุขภาพบุคลากรติดตามนิเทศ ควบคุมกำกับสุ่มตรวจสอบและประเมินผลงานอย่างต่อเนื่อง

 

คำสำคัญ : ปัจจัย, พฤติกรรม, การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, ความรู้, ทัศนคติ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)