The Herbal Medicines Used for Menstrual Disorders

Authors

  • Natrada Burusliam

Abstract

ในสังคมยุคปัจจุบัน การแต่งงานช้าเป็นกระแสที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยมีงานวิจัยของต่างประเทศว่าด้วยเรื่องการเลื่อนการแต่งงานไปเมื่ออายุมากขึ้นจากหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก และที่สำคัญคือปรากฏขึ้นในหลายวัฒนธรรมและด้วยหลายเหตุปัจจัย ซึ่ง “ภาวะรอ” (waithood) คือ รอแต่งงานสร้างครอบครัวนี้ ปรากฏทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ภาวะนี้ถูกใช้ครั้งแรก ในปี 2008  โดย Diane Singerman ศึกษาสังคมตะวันออกกลาง และพบความเกี่ยวข้องระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและการแต่งงาน พบว่า ภาวะรอในผู้ชายที่ว่าด้วยปัจจัยเรื่องการเงิน การแต่งงานในวัฒนธรรมตะวันออกกลางมีราคาที่สูง จึงไม่สามารถรับภาระการแต่งงานได้ จึงต้องรอ เลื่อนเวลาการก้าวไปสู่ชีวิตครอบครัวออกไปก่อน และ Marcia Inhorn ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ Yale University พบประเด็นสำคัญคือ เรื่องการศึกษา ผู้หญิงในยุคปัจจุบันมีทางเลือกและเข้าสู่ระบบการศึกษาในระดับสูง จึงเลือกความสำเร็จในชีวิตด้านอื่นก่อนที่จะกระโดดเข้าสู่สถานะของการมีชีวิตครอบครัวและการเป็นแม่ แต่กระแสแต่งงานช้าไม่ได้เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการศึกษาหรือความสำเร็จส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียว ในประเทศแถบแอฟริกาที่การศึกษาเข้าไม่ถึงผู้หญิงเท่ากับภูมิภาคอื่น ผู้หญิงในแถบนั้นก็เลือกที่จะแต่งงานช้า ไปที่หลังอายุ 30 โดยผู้หญิงเลือกที่จะให้ความสำคัญกับการหาประสบการณ์ชีวิตก่อน ซึ่งในสังคมไทยเองก็มีแนวโน้มปรากฏการณ์ “Marriage strike” เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะชะลอการแต่งงานให้ช้าลง ทำให้มีคู่สมรสมารับคำปรึกษาและรักษาภาวะมีบุตรยากเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายหญิงมีอายุมากขึ้นจะมีความสามารถในการเจริญพันธุ์ลดลงจากปริมาณและคุณภาพของเซลล์ไข่ที่ลดลง โดยโอกาสตั้งครรภ์จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังอายุ 37 ปี และฝ่ายหญิงแทบจะไม่มีโอกาสตั้งครรภ์จากเซลล์ไข่ของตนเองหลังอายุ 45 ปี จึงนำมาสู่ “ภาวะมีบุตรยาก”

References

Marcia C. Inhorn. waithood: gender, education, & global delays in marriage [Internet]. 2018 [cited 2021 October 11]. Available from: https://ceas.yale.edu/news/waithood-gender-education-global-delays-marriage

อภิรดี จิรัฐิติกาลโชติ. สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 11 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/222_2020-05-07.pdf

Bangkok Hospital. ภาวะมีบุตรยาก ปัญหาชวนปวดใจของคนอยากมีลูก [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 11 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokhospital.com/content/infertility-problems-for-people-wanting-to-have-baby

พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์. ไขข้อข้องใจ หมดประจำเดือนก่อนวัยได้หรือ [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 11 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2010/What-women-should-know-about-premature-menopause

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.

กัญทร ยินเจริญ, สิริรัตน์ เลาหประภานนท์, ศรินทร์รัตน์ จิตจำ. ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรรักษาโรคโลหิตระดูสตรีของหมอพื้นบ้านภาคใต้ [ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย]. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย; 2562.

กชนิภา สุทธิบุตร, อรุณพร อิฐรัตน์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนและตำรับยาสมุนไพรที่ใช้รักษา ซึ่งระบุในคัมภีร์มหาโชตรัต. วารสารธรรมศาสตร์เวชสาร 2562;19(1):46-60.

บุษบา ประภาสพงศ์, อุทัย ไชยกลาง, ศิริมาลา สุวรรณโภคิน, บรรณาธิการ. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สกสค.ลาดพร้าว; 2551.

Downloads

Published

2021-12-31