การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

คำแนะนำผู้แต่ง

การเตรียมต้นฉบับ 1. หน้าปก (Title pages) กำหนดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยประกอบด้วย 1.1 ชื่อเรื่อง 1.2 ชื่อ-สกุล ผู้นิพนธ์ทุกท่านพร้อมคุรวุฒิการศึกษาสูงสุด 2. บทคัดย่อ (Abstract) และสำคัญ (Key words) 2.1 กำหนดให้มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีของนิพนธ์ต้นฉบับและรายงานผู้ป่วยสำหรับต้นฉบับในลักษณะอื่นๆ เช่น บทความพิเศษ, บทความฟื้นฟูวิชาการ, บันทึกเวชกรรม ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องมีบทคัดย่อ 2.2 ระบุ Key Words หรือ short phrases 2-5 คำ 3. เนื้อเรื่อง 3.1 นิพนธ์ ต้นฉบับและรายงานผู้ป่วย ใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ถ้าเป็นภาษาอังกฤษต้องมีความถูกต้องทั้งไวทยา กรณ์และความสละสลวยทางภาษาอาจต้องมีการส่งต่อบทความไปยังอาจารย์ด้านภาษาอังกฤษตรวจทานอีกครั้ง ดังนั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบเอง 3.2 บทความอื่นนอกจากนี้ใช้ภาษาไทยเท่านั้น 3.3 ลำดับการนำเสนอของนิพนธ์ต้นฉบับเป็นดังนี้ บทนำ (Introduction), วัสดุและวิธีการ (Materials & Methods), ผล (Results) และวิจารณ์ (Discussion) สำหรับบทความประเภทอื่น ลำดับหัวข้อเรื่องได้ตามความเหมาะสมที่พิจารณา 4. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgments) 5. เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบ Vancouver ใส่หมายเลขเรียงลำดับที่อ้างอิงในเนื้อเรื่องไม่เรียงลำดับตามอักษรของผู้ นิพนธ์ การย่อชื่อวารสารให้ใช้ตาม Index Medicus 6. ตาราง (Tables) พิมพ์เป็นแผ่นแยกต่างหากเรียงตามลำดับก่อนหลังตามที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง และมีคำอธิบายเพิ่มเติมในตาราง 7. ภาพประกอบ สามารถเตรียมส่งในรูปของ 7.1 Post-card ขาว-ดำ หรือภาพสี ขนาด 3x5 นิ้ว 7.2 รูปสไลด์ พร้อมเครื่องหมายกำกับเลขที่ขอบบนขวาของภาพ ลำดับที่ของภาพ 7.3 แผนภาพ และกราฟ กำหนดเขียนด้วยหมึกดำบนกระดาษอาร์ต 7.4 เจ้าของเรื่องที่ตีพิมพ์ จะได้รับสำเนาเรื่องจัดส่งให้ภายหลังวารสารออกจำนวน 3 ฉบับ 8. การส่งบทความ ส่งต้นฉบับจำนวน 2 ชุด และกรุณาส่งมาในรูป Dis-kette ด้วยทุกครั้งที่ส่งบทความมา โดยพิมพ์ในโปรแกรม Microsoft Word 9.1 ถ้าต้องการให้ ทันฉบับที่ 1 ต้องส่งถึงกองจัดการอย่างช้าภายในวันที่ 15 ธันวาคม

การเขียนเอกสารอ้างอิง การอ้างอิงเอสารใช้ระบบ (Vancouver) โดยใส่ตัวเลขหลังข้อความหรือหลังชื่อบุคคลเจ้าของข้อความที่อ้างถึงโดยใช้ หมายเลข 1 สำหรับเอกสารอ้างอิง อันดับแรกและเรียงต่อไปตามลำดับ ถ้าต้องการอ้างอิงซ้ำ ให้ใช้หมายเลขเดิม ห้ามใช้คำย่อในเอกสารอ้างอิง บทความที่บรรณาธิการรับตีพิมพ์แล้วแต่ยังไม่ได้เผยแพร่ ให้ระบุ "กำลังพิมพ์" บทความที่ไม่ได้ตีพิมพ์ให้แจ้ง "ไม่ได้ตีพิมพ์" หลีกเลี่ยง "ติดต่อส่วนตัว" มาใช้อ้างอิง นอกจากมีข้อมูลสำคัญมากที่หาไม่ได้ทั่วๆไป ให้ระบุชื่อและวันที่ติดต่อในวงเล็บท้ายชื่อเรื่องที่อ้างอิง การเขียนเอกสารอ้างอิงในวารสารวิชาการ มีรูปแบบดังนี้ ชื่อวารสารในการอ้างอิงให้ใช้ชื่อย่อตามรูปแบบของ U.S National Library of Medicine ที่ตีพิมพ์ใน Index Medicus ทุกปี หรือในเว็บไซต์ http://www.nim/nih.gov/tsd/serials/liji.html 1. วารสารวิชาการ ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่ีอวารสาร ปีที่พิมพ์; ปีที่ : หน้าแรก หน้าสุดท้าย วารสารภาษาไทยชื่อผู้นิพนธ์ให้ใช้ชื่อเต็มทั้งชื่อและชื่อสกุล ชื่อวารสารเป็นชื่อเต็ม ปีที่พิมพ์เป็นปีพุทธศักราชวารสารภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุลก่อน ตามด้วยตัวอักษรย่อตัวหน้าตัวเดียวของชื่อตัว และชื่อรอง ถ้ามีผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อเพียง 6 คน และตามด้วย et al. (วารสาร ภาษาอังกฤษ) หรือ และคณะ(วารสารภาษาไทย) ชื่อวารสารใช้ชื่อย่อคามแบบของ Index Medicus หรือตามแบบที่ในวารสารนั้นๆ เลขหน้าสุดท้ายใส่เฉพาะเลขท้าย ตามตัวอย่างดังนี้ 1.1 เอกสารจากวารสารวิชาการ 1. วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, พัชรี เงินตรา, ปราณี มหาศักดิ์พันธ์, ฉวีวรรณ เชาวกีระติพงศ์, ยุวดี ตาทิพย์. การสำรวจความครอบคลุม และการใช้บริการตรวจ หามะเร็งปากมดลูกในสตรีอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2540. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2541 ; 7 : 20-6 2. Parkin DM, Clayton D, Black RJ, Masuyer E, Friendi HP, lvanov E, et al. Childhood leukaemia in Europe after Chernobyl : 5 - year follow up. Br J Cancer 1996 ; 73 ; 1006-12 1.2 องค์กรเป็นผู้นิพนธ์ 1. คณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. เกณฑ์การวินิจฉัยและแนวทางการประเมินการสูญเสียสมกรรถภาพทางกายของโรคระบบ การหายใจ เนื่องจากการประกอบอาชีพ. แพทยสภาสาร 2538 ; 24 ; 190-204 .1.3 ไม่มีชื่อผู้นิพนธ์ 1. Cancer in South Africa [editorial]. S Afr Med J 1994 ; 84 : 15. 1.4 บทความในฉบับแรก 1. วิชัย ตันไพจิตร. สิ่งแวดล้อมโภชนาการกับสุขภาพ. ใน : สมชาย บวรกิตติ, จอห์น พี ลอฟทัส, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม. สารศิริราช 2539 ; 48 [ฉบับผนวก]:153-61 1.5 ระบุประเภทของบทความ 1. บุญเรือง นิยมพร, ดำรง เพ็ชรพลาย, นันทวัน พรหมผลิน, ทวี บุญโชติ, สมชัย บวรกิตติ, ประหยัด ทัศนากรณ์ แอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุบนท้องถนน [บทบรรณาธิการ]. สารศิริราช 2539;48:616-20. 2. Enzensberger W} Fischer PA. Metronome in Parkinson' disease [letter]. Lancet 1996; 347:1337. 2. หนังสือ ตำรา หรือรายงาน 2.1 หนังสือสำหรับตำราผู้นิพนธ์เขียนทั้งเล่ม ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ ; ปีที่พิมพ์ - หนังสือแต่งโดยผู้นิพนธ์ 1. ธงชัย สันติวงษ์. องค์การและการบริการ ฉบับแก้ไขปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช ; 2535. 2. Ringsven MK, Bond D. Gerontology and leadership skills for nurses. 2nd ed. Albany(NY) : Delmar publishers ; 1996. - หนังสือบรรณาธิการ 1. วิชาญ วิทยาศัย, ประคอง วิทยาศัย, บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติในผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์. พิมพ์ครั้งที่1 . กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิเด็ก ; 2535. 2. Normal IJ, Redfern SJ, editors. Mental Health care for elderly people. New York : Churchill Livingstone ; 1996. 2.2 บทหนึ่งในหนังสือตำรา ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่องใน. ใน : ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ. ครั้งพิมพ์. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ ; หน้าแรก-หน้าสุดท้าย 1. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การให้สารน้ำและเกลือแร่. ใน : มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฏร์, ประอร ชวลิตธำรง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2540. หน้า 425-78. 2. Phillips SJ, Whisnant JP. Hypertension and stroke. In : Laragh JH, Brenner BM, editors. Hypertension : pathophysiology, diagnosis, and management. 2nd ed New York : Raven Press; 1995. p.465-78. 3. รายงานการประชุม สัมมนา ลำดับที่. ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อเรื่อง. ชื่อการประชุม; วัน เดือน ปีประชุม; สถานที่จัดประชุม. เมือง ที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. 1. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, งามจิตต์ จันทรสาธิต, บรรณาธิการ. นโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ครั้งที่ 2 เรื่องส่งเสริมสุขภาพ : บทบาทใหม่แห่งยุคของทุกคน ; 6-8 พฤษภาคม 2541 ; ณ โรงแรมโบ๊เบ๊ทาวเวอร์. กรุงเทพมหานคร : 2541. 2. Kimura J, Shibasaki H, editors. Recent advance in clinical neurophysiology. Proceedings of the 1 oth International Congress of EMG and Clinical Neurophysiology ; 1995 Oct 15-19 ; Kyoto, Japan Amsterdam:Elsevier; 1996. 3. Bengtsson S, Solheim BG. Enforcement of data protection, privacy and security in medical informations. In; Lun KC, Degoulet P, Piemme TF, Rienhoff O, editors. MEDINFO 92. Proceedings of the 7th World Congress on Medical Infomtions; 1992 Sep 6-10; Geneva, Switzerland. Amsterdam : North - Holland; 1992.p.1561-5. 4. รายงานการวิจัย พิมพ์โดยผู้ให้ทุน ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. เมืองที่พิมพ์ : หน่วยงานที่พิมพ์, แหล่งทุน; ปีที่พิมพ์. เลขที่รายงาน. 1. ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. การพัฒนากลไกการจ่ายเงินที่มีประสิทธิภาพในระบบสาธารณสุขด้วยกลุ่มวินิจฉัย โรคร่วม.กรุงเทพมหานคร : กอง โรงพยาบาลภูมิภาคสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย องค์การอนามัยโลก ; มี.ค. 2540. 2. Smith P, Gollady K.Patment for durable medical equipment billed during skilled nursing facility stays. Final report. Dallas (TX): Dept. of Health and Human Service (US). Office of Evaluation and Inspection ; 1994 Oct. Report No:HHSIGOEI 69200860. 5. วิยานิพนธ์ ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง [ประเภทปริญญา]. ภาควิชา, คณะ, เมือง : มหาวิยาลัย ; ปีที่ได้รับปริญญา. 1. ชยมัย ชาลี. ต้นทุนในการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลรัฐบาล: ศึกษาเฉพาะกรณีตัวอย่าง 4 โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษศาสตร์มหาบัณฑิต]. ภาควิชาเศรฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2530. 2. Kaplan Sj. Post-hospital home health care:the elderly's access and utillzation[dissertation].St Louis (MO); Washington Univ.; 1995. (จาก คู่มือการพัฒนามาตรฐานวารสารวิชาการสาธารณสุข สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2541)

คำแนะนำผู้แต่ง (ดาวน์โหลด)

จดหมายถึงบรรณาธิการ

จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter from editor) เป็นคำถามหรือข้อคิดเห็นในเรื่องวิชาการที่ผู้อ่านส่งมาและเห็นว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน

นิพนธ์ต้นฉบับ

นิพนธ์ต้นฉบับ(Original articles) ได้แก่บทความที่เสนอผลงานใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัย รายงานผู้ป่วย หรือ นวัตกรรมทางด้านการแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรรม พยาบาล สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ในวรสารหรือหนังสืออื่น

รายงานผู้ป่วย

รายงานผู้ป่วย (Case report) เป็นรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจเช่น การบาดเจ็บ,ความผิดปกติหรือโรคที่พบได้อยาก และที่น่าศึกษาหรือใช้วิธีการนวัตกรรม หรือเครื่องมือใหม่ ในการรักษาผู้ป่วย

บทความฟื้นฟูวิชาการ

Review articles (บทความฟื้นฟูวิชาการ) ได้แก่ บทความที่ได้จากการรวบรวมนำเอาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือต่างๆ หรือจากผลงานและประสบการณ์ ของผู้นิพนธ์นำมาเรียบเรียงและวิเคาะห์วิจารณ์หรือเปลียบเทียบกันเพื่อให้เกิดความลึกซึ้งหรือเกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นมากขึ้น

บทความพิเศษ

บทความพิเศษ (Special article) เป็นบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องทางด้านการแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรรม พยาบาล การสาธารณสุขและวิทยาศาตร์การแพทย์ อาจมีลัษณะเป็นบทวิเคาะห์วิจารณ์ หรือบทความทางด้านการบริหารที่เกี่ยวข้องและเห็นว่าประโยชน์

ปกิณกะ

ปกิณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความอื่นๆ หรือรายงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการแพทย์ สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ หรือบทความที่ส่งเสริมเข้าใจอันดีในหมู่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชลบุรีและผู้เกี่ยวข้อง

ปัญหาทางด้านคลีนิค รังสีวิทยาและพยาธิวิทยา

ปัญหาทางด้านคลีนิค รังสีวิทยาและพยาธิวิทยา (Clinico-radio-pathological quiz) เพื่อให้ผู้อ่านได้ฝึกทักษะในการวินิจฉัยแยกโรคต่างๆ ที่อาจพบในระหว่างการปฏิบัติงาน

นโยบายส่วนส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ