ผลการอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวอย่างเดียวและแบบร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้ต่อองศาการเคลื่อนไหว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความเร็ว ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี

ผู้แต่ง

  • Suparat Sooktho Faculty of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ubon Ratchathani Rajabhat Universit
  • Nattamon Pikraw Faculty of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ubon Ratchathani Rajabhat University
  • Natthida Phadsri Prasrimahabhodi physhiatric Hospital, Ubonratchathani
  • Ratchada Wongbutdee Laemchabang Hospital, Chonburi

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวอย่างเดียวกับการอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้ ต่อองศาการเคลื่อนไหว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความเร็ว ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 50 คน อายุเฉลี่ย 18-25 ปี ทำการอบอุ่นร่างกาย 2 โปรแกรมคือ การอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวอย่างเดียว และการอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้ อบอุ่นร่างกายโดยการเหยาะ ๆ ที่กำหนดความเร็วด้วยตนเอง 10 นาที และวิ่งเร็วระยะทาง 30 เมตร จำนวน 3 รอบ จากนั้นยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้ มัดละ 20 วินาที ทำซ้ำ 2 รอบ บันทึกองศาการเคลื่อนไหว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความเร็ว ก่อนและหลังการอบอุ่นร่างกาย ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างโปรแกรม องศาการเคลื่อนไหวบริเวณข้อเท้าข้างขวาในทิศทางกระดกข้อเท้าขึ้น โปรแกรมการอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวอย่างเดียวมีค่าเฉลี่ยมากกว่าโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ขณะที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และความเร็ว ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบผลภายในทั้งสองโปรแกรมพบว่า องศาการเคลื่อนไหวบริเวณข้อสะโพกทั้ง 2 ข้าง ในทิศทางการเหยียดสะโพก การกางข้อสะโพก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ดังนั้น การอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวอย่างเดียวสามารถเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวทิศทางการกระดกข้อเท้าขึ้น การอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อ มีแนวโน้มช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาได้

ประวัติผู้แต่ง

Suparat Sooktho, Faculty of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ubon Ratchathani Rajabhat Universit

Thai Traditional Medicine

Natthida Phadsri, Prasrimahabhodi physhiatric Hospital, Ubonratchathani

Thai Traditional Medicine

Ratchada Wongbutdee, Laemchabang Hospital, Chonburi

Thai Traditional Medicine

เอกสารอ้างอิง

Young WB, Behm DG. Effects of running static stretching and practice jumps on explosive force production and jumping performance. J Sports Med Phys Fitness 2003 ; 43 : 21–7.

Winchester JB, Nelson AG, Landin D, Young MA, Schexnayder IC. Static stretching impairs sprint performance in collegiate track and field athletes. J Strength Cond Res. 2008 ; 22 : 13-9.

Power k. An acute bout of static stretching : Effects on force and jumping performance. Med Sci Sports Exerc 2004 ; 36 : 1389-96.

Young W, Clothier P, Otago L, Bruce L, Liddell D. Acute effects of static stretching on hip flexor and quadriceps flexibility range of motion and foot speed in kicking a football. J Sci Med Sport 2004 ; 7 : 23-31.

วิภาวดี กิจมี, สายนที ปรารถนาผล. ผลการอบอุ่นร่างกายแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อความสามารถในการวิ่ง และความยืดหยุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 2555 ; 12 : 27-36.

Bishop D. Warm up II : Performance changes following active warm up and how to structure the warm up. Sports Medicine 2003 ; 33 : 438-98.

Pongwichai S. Statistical data analysis by computer. 14th ed. Bangkok : Chulalongkorn University Publishing ; 2004.

Zakas A. The effect of stretching during warming-up on the flexibility of junior handball players. J Sports Med Phys fitness 2003 ; 43 : 145-9.

นพวรรณ ธีระประดิษฐผล, สมรรถชัย จานงค์กิจ, สายนที ปรารถนาผล. ผลของการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้และแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการอบอุ่นร่างกายต่อคิเนมาติกส์ของรยางค์ขา และสมรรถนะในการวิ่งระยะสั้น 100 เมตร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 2555 ; 12 : 33-4.

Zmijewski P, Lipinska P, Czajkowska A, Mroz A, Kapuscinski P, Mazurek K. Acute Effects of a Static vs. a Dynamic Stretching Warm-up on Repeated-Sprint Performance in Female Handball Players. Journal of Human Kinetics volume 2020 ; 72 : 167-72.

Sua H, Changa NJ, Wua WL, Guoa LY, Chua IH. Acute Effects of Foam Rolling, Static Stretching, and Dynamic Stretching During Warm-ups on Muscular Flexibility and Strength in Young Adults. Journal of Sport Rehabilitation 2016 ; 26 : 469-77.

Behm DG, Bambury A, Cahill F, Power K. Effect of Acute Static Stretching on Force Balance Reaction Time and Movement Time. Med. Sci. Sports Exerc 2004 ; 36 :1397-402.

Brahim S, Chan EWM. Acute effect of dynamic stretching versus combined static dynamic stretching on speed performance among male Sukma Sarawak 2016 sprinters. Jurnal Sains Sukan dan Pendidikan Jasmani 2020 ; 9 : 1-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31