ผลของการกดมดลูกส่วนล่าง นาน 8 นาที ในการคลอดปกติทางช่องคลอด ที่โรงพยาบาลนครนายก เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก

ผู้แต่ง

  • Kalyanee Kangsanarak Nakhonnayok Hospital

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลและปริมาณการสูญเสียเลือดระหว่าง วิธีกดมดลูกส่วนล่างเป็นเวลา 8 นาที กับวิธีแบบดั้งเดิมในการคลอดปกติทางช่องคลอด โดยทำการศึกษา ณ กลุ่มงานสูติ- นรีเวชกรรม โรงพยาบาลนครนายก ระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2564 ทำการศึกษาในมารดาตั้งครรภ์เดี่ยว อายุครรภ์ 37 – 42 สัปดาห์ ไม่มีโรคประจำตัว ในรายที่มีภาวะครรภ์แฝดน้ำ ได้รับยาแมกนีเชียมซัลเฟต มีภาวะมดลูกปลิ้น มดลูกแตก มีก้อนเลือดหรือมีการฉีกขาดของช่องทางคลอดอย่างรุนแรง มีภาวะรกค้างจะถูกตัดออกจากการทดลอง กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลการคลอดปกติ คือได้รับ Oxytocin หนีบและตัดสายสะดือภายใน 3 นาที หลังการคลอด ทำคลอดรกแบบ Controlled cord traction พร้อมทั้งคลึงมดลูกทันทีหลังรกคลอด ในกลุ่มทดลอง เพิ่มการกดมดลูกส่วนล่างทางหน้าท้องนาน 8 นาที วัดและบันทึกปริมาณ การสูญเสียเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมง ทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยปริมาณการสูญเสียเลือด ในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ของการคลอดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (256.93 ± 95.63 มิลลิลิตร vs 216.07 ± 76.00 มิลลิลิตร, P = .002 ในระยะที่ 3 และ 63.67 ± 15.74 มิลลิลิตร vs 57.50 ± 12.41 มิลลิลิตร, P = .004 ในระยะที่ 4) และในกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการกดมดลูกส่วนล่าง พบว่ามีการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกน้อยกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.7% vs 1.1%, P = .006) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการกดมดลูกส่วนล่างทันทีหลังรกคลอดนาน 8 นาที สามารถลดการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก และลดปริมาณการสูญเสียเลือดในรายคลอดปกติทางช่องคลอดอีกทั้งเป็นวิธีการที่กระทำได้ง่าย ปลอดภัย ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่มีค่าใช้จ่าย

เอกสารอ้างอิง

GBD 2015 Maternal Mortality Collaborators. Global, regional and national levels of maternal mortality, 1990-2015 : a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015. Lancet 2016;388(10053):1775-812.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. อัตราส่วนการตายมารดา [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ

มีนาคม 2562]. เข้าถึงจาก http://planning.anamai.moph.go.th/download/D_Strategic/2562/Committee/Committed62_Data2-050362.pdf

World Health Organization. WHO guidelines for the management of postpartum hemorrhage and retained placenta. France: WHO; 2014.

World Health Organization. WHO recommendations for the prevention and treatment of post partum hemorrhage. Italy: WHO; 2012.

Breathnach F, Geary M. Uterine atony : definition, prevention, non surgical management and uterine tamponade. Semin Perinatol 2009;33:82-7.

Gulmezoglu AM, Lumbiganon P, Landoulsi S, Widmer M, Abdul-Allem H, Festin M, et al. Active management of the third stage of labour with and without controlled cord traction: a randomized controlled, non-inferiority trial. Lancet 2012;379:1721-7.

Hofmeyr GJ, Mshweshwe NT, Gulmezoglu AH. Controlled cord traction for the third stage of labour. Cochrane Database Syst Rev [Internet]. 2015 [cited 2015 Jan 29]. Available from: https://doi.org/ 10.1002/14651858.CD008020.pub2

Chantrapitak W, Srijuntuek K, Wattanaluangarun R. The efficacy of lower uterine segment compression for prevention of early post partum hemorrhage after vaginal delivery. J Med Assoc Thai 2011;94(6):649-56.

Masuzawa Y, Yaeko K. Uterine activity during the two hours after placental delivery among low-risk pregnancies : an observational study. J Matern Fetal Neonatal Med 2017;30(20):2446-51.

Yuksel H. A novel approach to primary lower uterine segment atony. Taiwan J Obstet Gynecol 2015;54:452-4.

Estridge BM, Reynolds AP, Walters NJ. Basic hemostasis . In: Estridge BH, Reynolds AP, Walters NJ, editors. Basic medical laboratory techniques. 4th ed . New York: Delmar Cengage Learning; 2000. p. 235-72.

Poon CY. Clinical analysis. In: Troy DB, editor. Remington : the science and practice of phamacy. 21sted. Philadelphia: Lippincott Williams &Wilkins; 2005. p. 565–98.

Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses. using G* Power 3.1 : tests for correlation and regression analyses. Behav Res Meth 2009;41:1149-60.

Prendiville WJ, Elbourne D, McDonald S. Active versus expectant management in the third stage of labour. Cochrane Database Syst Rev [Internet]. 2009 [cited 2009 Jul 08]. Available from: https://

doi.org/10.1002/14651858.CD000007.pub2

Sekhavat L, Firuzabadi RD, Karimi ZM. Eftect of postpartum oxygen inhalation on vaginal blood loss. J Matern Fetal Neonatal Med 2009;22:1072-6.

Chantrapitak W, Anunsakunwat W, Sritippayawan S, Lojindarat S, Srijuntuek K, Wattanaluangarun R. Lower uterine segment compression (LUSC) procedure for treatment and prevention of postpartum hemorrhage. Charoenkrung Pracharak Hospital Journal 2014;10(1):45-52. (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28 — อัปเดตเมื่อ 2023-01-05

เวอร์ชัน