ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานที่ลดลงของประชากรวัยทำงานที่มีโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษในเขตพื้นที่ EEC

ผู้แต่ง

  • Apiradee Vararungzarit Department of Internal Medicine, Faculty of Medicine, Burapha University.
  • Alisara Wongsuttilert Division of Radiology and Nuclear Medicine, Faculty of Medicine, Burapha University.
  • Sathapakorn Siriwong Department of Internal Medicine, Queen Savang Vadhana Memorial Hospital.
  • Pajaree Abdullakasim Department of Health Education, Faculty of Public Health, Burapha University.
  • Wanlop Jaidee Department of Fundamentals of Public Health, Faculty of Public Health, Burapha University.

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา : โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบอุบัติการณ์สูงขึ้นในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โรคนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายแต่อาจกระทบต่อความสามารถในการทำงานของผู้ป่วยและเพิ่มความเสี่ยงของการขาดงานเรื้อรัง

วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานที่ลดลงของประชากรวัยทำงาน

ที่มีโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวางไปข้างหน้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 59 ปี ที่พำนักอาศัยในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ไม่น้อยกว่า 1 ปี และรักษาโรคไทรอยด์ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาและโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2562 จำนวน 311 ราย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำงานของผู้ป่วย ใช้วิธี simple logistic regression ในการวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานที่ลดลงของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95%และกําหนดนัยสําคัญทางสถิติเป็น p < 0.05

ผลการศึกษา: ร้อยละ 15.1 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสามารถในการทำงานลดลง พบเพียงปัจจัยเรื่องการประกอบอาชีพที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความสามารถในการทำงานที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (OR = 0.409, 95%CI 0.201-0.832, p=0.014) ส่วนข้อจำกัดของความสามารถในการทำงานสูงสุด 5 อันดับแรกของผู้ป่วยในงานวิจัยนี้คือ ทำงานแล้วขาดความระมัดระวังหรือทำงานพลาดบ่อยกว่าปกติ (ร้อยละ 37.3) ต้องใช้ความพยายามเพิ่มมากขึ้นในการทำงานหรือทำกิจวัตรประจำวัน (ร้อยละ 28.9) และลำบากในการดำเนินกิจกรรมนอกบ้าน (ร้อยละ 28.3) ทำงานได้น้อยกว่าที่ตั้งใจ (ร้อยละ 24.8) และต้องลดเวลาที่ใช้ในการทำงาน งานอดิเรก หรือกิจวัตรประจำวันอื่นๆ (ร้อยละ 23.2) ตามลำดับ โดยผู้ป่วยที่มีความสามารถในการทำงานลดลงมีข้อจำกัดในการทำงานทั้ง 5 หัวข้อเป็นสัดส่วนที่มากกว่าผู้ป่วยที่มีความสามารถในการทำงานเพียงพออย่างชัดเจน (p<0.01)

สรุป: โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษส่งผลให้ผู้ป่วยในวัยทำงานเกือบ 1 ใน 6 มีความสามารถในการทำงานลดลง

ข้อเสนอแนะ : การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะการทำงานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการทำงานใกล้เคียงกับสภาวะปกติและเสี่ยงต่อการขาดงานลดลง 

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2559. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigov.go.th/uploads/document/66/2017/01/pdf/20year-may59.pdf

สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559 หัวข้อที่ 12. เรื่อง โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง; 2559. เข้าถึงได้จาก: https://ofm.mof.go.th/th/view/attachment/file/38363138/mathi_28062559.pdf

ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออก. สถานการณ์ตลาดแรงงาน. วารสารสถานการณ์ตลาดแรงงานภาคตะวันออก 2559:5-13.

จุรีพร คงประเสริฐ, นิตยา พันธุเวทย์, ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, ลินดา จำปาแก้ว. คู่มือการจัดบริการสุขภาพ “กลุ่มวัยทำงาน” แบบบูรณาการ 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

เสาวลักษณ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์. วัยทำงาน เสี่ยงโรคเรื้อรังคุกคาม [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 7 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/35323-วัยทำงาน%20เสี่ยงโรคเรื้อรังคุกคาม.html

Ross DS, Burch HB, Cooper DS, Greenlee MC, Laurberg P, Maia AL, et al. 2016 American thyroid association guidelines for diagnosis and management of hyperthyroidism and other causes of thyrotoxicosis. Thyroid. 2016;26:1343-421.

Sundaresh V, Brito JP, Thapa P, Bahn RS, Stan MN. Comparative effectiveness of treatment choices for Graves' hyperthyroidism: a historical cohort study. Thyroid. 2017;27:497-505.

Ertek S, Cicero AF. Hyperthyroidism and cardiovascular complications: a narrative review on the basis of pathophysiology. Arch Med Sci. 2013;9:944-52.

Tsymbaliuk I, Unukovych D, Shvets N, Dinets A. Cardiovascular complications secondary to Graves' disease: a prospective study from Ukraine. PLoS One. 2015;10:1-15.

Muthukumar S, Sadacharan D, Ravikumar K, Mohanapriya G, Hussain Z, Suresh RV. A prospective study on cardiovascular dysfunction in patients with hyperthyroidism and its reversal after surgical cure. World J Surg. 2016;40:622-8.

Sugiura T, Yamanaka S, Takeuchi H, Morimoto N, Kamioka M, Matsumura Y. Autoimmunity and pulmonary hypertension in patients with Graves' disease. Heart Vessels. 2015;30:642-6.

Fischer S, Ehlert U. Hypothalamic-pituitary-thyroid (HPT) axis functioning in anxiety disorders. A systematic review. Depress Anxiety. 2018;35:98-110.

Bové KB, Watt T, Vogel A, Hegedüs L, Bjoerner JB, Groenvold M, et al. Anxiety and depression are more prevalent in patients with Graves' disease than in patients with nodular goitre. Eur Thyroid J. 2014;3:173-8.

Suwalska A, Lacka K, Lojko D, Rybakowski JK. Quality of life, depressive symptoms and anxiety in hyperthyroid patients. Rocz Akad Med Bialymst. 2005;50 Suppl 1:61-3.

Li Q, Ye H, Ding Y, Chen G, Liu Z, Xu J, et al. Clinical characteristics of moderate-to-severe thyroid associated ophthalmopathy in 354 Chinese cases. PLoS One. 2017;12:1-16.

Delfino LC, Zunino A, Sapia V, Croome MDCS, Ilera V, Gauna AT. Related quality of life questionnaire specific to dysthyroid ophthalmopathy evaluated in a population of patients with Graves' disease. Arch Endocrinol Metab. 2017 Jul-Aug;61:374-81.

Wiersinga WM. Quality of life in Graves' ophthalmopathy. Best Pract Res Clin Endocrinol Metab. 2012;26:359-70.

Wong VT, Yu DK. Usefulness of the hospital anxiety and depression scale for screening for psychiatric morbidity in Chinese patients with Graves' ophthalmopathy. East Asian Arch Psychiatry. 2013;23:6-12.

Kahaly GJ, Petrak F, Hardt J, Pitz S, Egle UT. Psychosocial morbidity of Graves' orbitopathy. Clin Endocrinol (Oxf). 2005;63:395-402.

Dai F, Yuan L, Fang J, Zhang Q, Wang K. Impaired decision making under risky conditions in the acute phase of Graves' thyroitoxicosis. Neurosci Lett. 2017;661:1-4.

Yuan L, Tian Y, Zhang F, Ma H, Chen X, Dai F, et al. Decision-making in patients with hyperthyroidism: a neuropsychological study. PLoS One. 2015;10:1-11.

Nexo MA, Watt T, Pedersen J, Bonnema SJ, Hegedüs L, Rasmussen AK, et al. Increased risk of long-term sickness absence, lower rate of return to work, and higher risk of unemployment and disability pensioning for thyroid patients: a Danish register-based cohort study. J Clin Endocrinol Metab. 2014;99:3184-92.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A Simple method of sample size calculation for lonear and logistic regression. Statist. Med. 1998;17:1623-34.

Fahrenfort JJ, Wilterdink AML, van der Veen EA. Long-term residual complaints and psychosocial sequelae after remission of hyperthyroidism. Psychoneuroendocrinology 2000;25:201-11.

Ponto KA, Merkesdal S, Hommel G, Pitz S, Pfeiffer N, Kahaly GJ. Public health relevance of Graves’ orbitopathy. J Clin Endocrinol Metab. 2013;98:145-52.

. Nexo MA, Watt T, Bonnema SJ, Hegedüs L, Rasmussen ÅK, Feldt-Rasmussen U, et al. Thyroid-specific questions on work ability showed known-groups validity among Danes with thyroid diseases. Qual Life Res. 2015;24:1615-27.

Watt T, Hegedus L, Groenvold M, Bjorner JB, Rasmussen AK, Bonnema SJ, et al. Validity and reliability of the novel thyroid-specific quality of life questionnaire, ThyPRO. Eur J Endocrinol 2010;162:161-7.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31