ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกต่อสมรรถภาพปอดในเพศชายวัยทำงาน
บทคัดย่อ
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ว่าเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง โดยมีผลเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด หัวใจ และการไหลเวียนเลือดของร่างกาย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกต่อสมรรถภาพปอดในอาสาสมัครเพศชายที่มีอายุ 18-40 ปี จำนวน 100 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มออกกำลังกาย 50 คน และกลุ่มไม่ออกกำลังกาย 50 คน จากบุคลากรในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและบุคคลภายนอก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และการตรวจสมรรถภาพปอด ทดสอบค่า vital capacity (VC), forced vital capacity (FVC), forced expiratory volume in the first second (FEV1) และ forced expiratory ratio (FEV1/FVC%) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ unpaired t-test ในการเปรียบเทียบข้อมูลทั้งสองกลุ่ม แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ p < .05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มออกกำลังกายมีค่า VC, FVC, FEV1 มากกว่ากลุ่มไม่ออกกำลังกาย ส่วนค่า FEV1/FVC ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ส่งเสริมสมรรถภาพของปอด โดยเพิ่มความจุปอด และประสิทธิภาพการทำงานของปอด
เอกสารอ้างอิง
Wilmore J. Knuttgen H. Aerobic xercise and ndurance improving fitness for health benefits. Phys Sportsmed 2003;31(5):45-51.
Campisi J. Aging, Cellular senescence, and cancer. Ann Rev Physiol 2013;75:685-705.
Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009;41(4):1149-60.
Medscape. Pulmonary function testing [Internet]. 2018 [cited 2020 June 2]. Available from: https://emedicine.medscape.com/article/303239-overview
พวงทอง ไกรพิบูลย์. ความดันหลอดเลือดปอดสูง. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/a/maejadee.ac.th/hypertension/khwam-dan-lohit-sung-1
Hagberg JM, Park JJ, Brown MD. The role of exercise training in the treatment of hypertension: an
update. Sports Med 2000;30(3):193–206.
Cornelissen VA, Fagard RH. Effect of resistance training on resting blood pressure: a meta-analysis
of randomized controlled trials. J Hypertens 2005;23(2):251–9.
Mahotra NB, Amatya TM, Rana B SJB, Banstola D. Effects of exercise on pulmonary function tests:
a comparative study between athletes and non-athletes in Nepalese settings. J Chitwan Med Coll 2016;6(1):21-3.
Vedala S, Paul N, Mane AB. Differences in pulmonary function test among the athletic and sedentary population. Natl J Physiol Pharm Pharmacol 2013;3(2):118-23.
ภัชรี แช่มช้อย. แอโรบิกด๊านซ์. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ; 2542.
Rani BBS, Indira YA. Comparative study of pulmonary function tests between normal male sedentary and tennis players. Int J Sci Stud 2019;6(11):137-40.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพิ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลชลบุรี