โควิด-19: วิกฤติที่ทำให้ระบบบริการสุขภาพไม่เหมือนเดิม

ผู้แต่ง

  • Hatsaya Tantipong Chonburi hospital

บทคัดย่อ

ในสภาวะการระบาดของโรคโควิด 19  ตั้งแต่ปลายปี 2019 เป็นต้นมาจนถึง เมษายน 2020 ที่ WHO ประกาศว่าโลกกำลังเผชิญภาวะโรคระบาดที่ระบาดทั่วโลก (Pandemic disease)(1) การเตรียมความพร้อมในการรับมือเพื่อให้ประชาชนยังสามารถดำรงการมีสุขภาพดีได้ โดยที่ระบบสุขภาพรองรับไหว ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆที่มีการระบาดของโรคโควิด19 ในช่วงเดือนเมษายน 2020เริ่มมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนจากสถานบันเทิงในกรุงเทพ และ กระจายไปในบริเวณปริมณฑล(2) จากการระบาดในช่วงแรกนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการรองรับผลกระทบจากการระบาดโรคโควิด19 ในเวลาต่อมา(2) ซึ่งมีลักษณะผลกระทบในรูปแบบที่แตกต่างกัน ก่อนเข้าสู่การปรับให้โรคโควิด19 เป็นโรคประจำถิ่นไม่ใช่โรคติดต่ออันตราย(ภาพประกอบที่ 1) จากการเปลี่ยนแปลงของสายพันธ์ไวรัส ที่เริ่มต้นการระบาดด้วยสายพันธ์อู๋ฮั่น มีการระบาดเป็น cluster ขนาดใหญ่จนทำให้เกิดการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับ ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นสายพันธุ์แอลฟา และ เดลตา ในช่วงเมษายน - ธันวาคม 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบสุขภาพ(health system) ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และต่อเนื่องเพื่อที่จะยังดำรงการให้บริการ (health services) เพื่อรองรับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆทั้งโควิดและ ไม่ใช่โควิด เนื่องจากความรุนแรงของสายพันธุ์ไวรัสที่ทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้น และ เสียชีวิตสูง ผู้ป่วยทั่วไปเริ่มจำเป็นต้องกลับเข้ามารับบริการ

ในเดือนมกราคม 2022 เริ่มมีการะบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 สายพันธุ์โอไมครอน ทำให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็วจาก 2,575ราย/วัน  เพิ่มเป็น8,511ราย/วัน ภายใน 10 วัน ดังนั้นแม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อาการไม่หนัก แต่ด้วยปริมาณผู้ป่วยที่มีจำนวนมหาศาล, การฉีดวัคซีนที่ยังทำได้ไม่ครอบคลุม100% รวมทั้ง ชนิดของไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อหลบหลีกภูมิต้านทาน ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดลงทำให้ยังมีผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรงทั้งที่มีสาเหตุจากโรคโควิด และโรคประจำตัวเดิมที่อาการไม่คงที่แต่มีโควิดเป็นโรคร่วม ผู้ป่วยเหล่านี้ยังจำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว แต่ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลอีกหลายแห่งเริ่มกลับมาให้บริการตามปกติเต็มศักยภาพส่งผลให้การบริหารทรัพยากรต้องคำนึงถึงทั้งผู้ป่วยโควิด และไม่ใช่โควิด

การเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการดำเนินงานระบบสุขภาพด้านต่างๆที่ WHO ให้ความสำคัญ และแบ่งส่วนประกอบเป็น 6 ด้าน(3) ในสภาวะการณ์ที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถบริหารจัดการจนเป็นที่ยอมรับของ WHO(4,5) ในการทำงานตอบสนองการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และการทำงานด้านสาธารณสุขในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ระบบบริการสุขภาพในอนาคตไม่เหมือนเดิม การเรียนรู้ผ่านสิ่งที่เกิดขึ้นจึงมีประโยชน์ในการออกแบบบริการสุขภาพ(health services)ในอนาคตให้มีความพร้อมรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีก และ ปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับบริบทมากยิ่งขึ้น

ประวัติผู้แต่ง

Hatsaya Tantipong, Chonburi hospital

Infectious, Department of Medicine

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Timeline: WHO’s COVID-19 response.

SAT-MOPH. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. 2022.

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva, Switzerland: WHO Document Production Services; 2010.

World Health Organization. Thailand shares lessons learned from the COVID-19 pandemic with WHO [Internet]. 2022 May [cited 2022 Jun 15]. Available from: https://www.who.int/thailand/news/detail/12-05-2022-thailand-shares-lessons-learned-from-the-covid-19-pandemic-with-who

World Health Organization. Thailand Launches “New Normal” Healthcare System To Build Back Better After COVID-19 [Internet]. 2020 Aug [cited 2022 Jun 15]. Available from: https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/thailand-launches-new-normal-healthcare-system-to-build-back-better-after-covid-19

หวังเกียรติ ป. “4 wave” ระบบสาธารณสุขไทย กับผลกระทบระยะยาวจาก “โควิด-19” [Internet]. Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. 2020 [cited 2022 Jun 19]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19160

World Health Organization. Tracking SARS-CoV-2 variants [Internet]. 2022 [cited 2022 Jun 19]. Available from: https://www.who.int/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants

Pan American Health Organization. COVID-19 and the importance of strengthening Information Systems [Internet]. 2020 May [cited 2022 Jun 19]. Available from: https://iris.paho.org/bitstream/handle/10665.2/52127/PAHOEIHISCOVID-19200021_eng.pdf?sequence=16&isAllowed=y

Chaturvedi R, Chhibber-Goel J, Malhotra S, Sharma A. A perspective on SARS-CoV-2 and community transmission in the top COVID-19 affected nations. Journal of Global Health Reports. 2021 Nov 2;5.

Negro-Calduch E, Azzopardi-Muscat N, Nitzan D, Pebody R, Jorgensen P, Novillo-Ortiz D. Health Information Systems in the COVID-19 Pandemic: A Short Survey of Experiences and Lessons Learned From the European Region. Frontiers in Public Health. 2021 Sep 28;9.

Buchan J, Williams GA, Zapata T. Governing health workforce responses during COVID-19. Eurohealth (Lond). 20121;27(1):41–8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31