เปรียบเทียบผลการผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทแบบส่องกล้องและแบบแผลเปิดในโรงพยาบาลระยอง

ผู้แต่ง

  • ภัทรียา พลประจักษ์ โรงพยาบาลระยอง

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา : ปัจจุบันภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังแตกปลิ้นพบได้บ่อยมากขึ้นในกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งมีการรักษาหลากหลายวิธี อาทิ เช่น ปรับพฤติกรรม การกินยา การกายภาพบำบัด ฉีดยาเข้าช่องโพรงเส้นประสาทจนไปถึงเรื่องของการผ่าตัด ซึ่งมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในนั้นที่มีความรุนแรงของโรคหรือข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดที่จำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท ลดอาการเจ็บปวดที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน โดยที่เทคนิคการผ่าตัดนั้นมีตั้งแต่แบบดั้งเดิม คือผ่าตัดแบบแผลเปิด, แบบมาตรฐานคือผ่าตัดแผลเปิดร่วมกับการใช้กล้องผ่าตัดจุลศัลยกรรม, และแบบใหม่คือผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งการผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้นเป็นการผ่าตัดที่นับได้ว่ามีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อโดยรอบแผลผ่าตัดน้อยที่สุด จึงเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทโดยเปรียบเทียบผลการผ่าตัดแบบส่องกล้องกับแบบดั้งเดิม และรายงานผลการผ่าตัดแบบส่องกล้องหลังติดตามผลการรักษาจนครบ 1 ปีและเปรียบเทียบผลการรักษากับกลุ่มผ่าตัดแผลเปิด เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการผ่าตัดแบบส่องกล้องที่สามารถเข้ามาแทนที่การผ่าตัดแบบแผลเปิด เพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้นและเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการรักษา

วิธีการศึกษา : การศึกษานี้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก ศึกษาย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบส่องกล้องเทียบกับแบบแผลเปิดในช่วงหลังการผ่าตัดทันทีในโรงพยาบาล ได้แก่ ปริมาณการสูญเสียของเลือดระหว่างผ่าตัด, ระยะเวลาการผ่าตัด, จำนวนวันที่สามารถลุกเดินได้หลังผ่าตัดและจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล ส่วนที่สอง รายงานผลการรักษาเชิงพรรณนาในกลุ่มคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นแบบส่องกล้องที่ติดตามนัดที่ 6 เดือน กับ 1 ปี, และเปรียบเทียบผลการรักษาของการผ่าตัดทั้ง 2 แบบ ที่ 1 ปีหลังผ่าตัด โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตและแบบสอบถามอาการปวดของหลัง (clinical scores) ได้แก่ VAS(leg), VAS(back), EQ5D, ODI, satisfaction score, EQ5D scale และ time return to work

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาททั้งหมดในโรงพยาบาลระยองตั้งแต่มกราคม 2561- กันยายน 2564 จำนวน 43 ราย แบ่งเป็น ผ่าตัดแบบแผลเปิด 23 ราย เป็นเพศชาย 15 รายและเพศหญิง 8 ราย อายุเฉลี่ย 40.47+10.94 ปี และผ่าตัดแบบส่องกล้องในโรงพยาบาลระยองทั้งหมด 20 ราย เป็นเพศชาย 9 รายและเพศหญิง 11 ราย อายุเฉลี่ย 38.09+5.68 ปี ผลการผ่าตัดพบว่าในกลุ่มที่ผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นแบบส่องกล้องใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดนานกว่ากลุ่มแผลเปิด (105 นาที และ 75นาที; p=0.039) แต่การผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้นมีการสูญเสียเลือดระหว่างผ่าตัดน้อยกว่าผ่าตัดแบบแผลเปิด (10 มิลลิลิตร และ 50 มิลลิลิตร; p<0.001) ระยะเวลาหลังผ่าตัดก่อนลุกเดินได้ (1วัน และ 2วัน; p<0.001) และระยะเวลานอนโรงพยาบาลสั้นกว่า (3 วัน และ 6 วัน; p<0.001) ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบส่องกล้องที่นัดติดตามผล พบมีคะแนนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและคะแนนปวดหลังที่ลดลงตั้งแต่หลังผ่าตัดและที่ 6 เดือนและ 1 ปีหลังผ่าตัด คะแนนการประเมินทางคลินิกและคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่ม โดยในกลุ่มผ่าตัดแบบส่องกล้องสามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้นและมีระดับความพึงพอใจหลังผ่าตัดในเกณฑ์ดีถึงดีมาก

สรุป : การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบส่องกล้องเป็นเทคนิคผ่าตัดที่ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ บรรลุเป้าหมายการรักษา ลดอาการปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ โดยที่ผู้ป่วยนั้นมีภาวะความเจ็บปวดจากการผ่าตัดน้อยกว่า ฟื้นตัวเร็วกว่า เสียเลือดจากการผ่าตัดที่น้อยกว่าและนอนโรงพยาบาลสั้นกว่าผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นแบบแผลเปิด

ประวัติผู้แต่ง

ภัทรียา พลประจักษ์, โรงพยาบาลระยอง

สำนักงานแพทย์

เอกสารอ้างอิง

Benzakour T, Igoumenou V, Mavrogenis AF, Benzakour A. Current concepts for lumbar disc herniation. Int Orthop. 2019;43:841-51.

Pan L, Zhang P, Yin Q. Comparison of tissue damages caused by endoscopic lumbar discectomy and traditional lumbar discectomy: a randomised controlled trial. Int J Surg. 2014;12:534-7.

Meyer G, ID DAR, Cristante AF, Marcon RM, Coutinho TP, Torelli AG, et al. Percutaneous endoscopic lumbar discectomy versus microdiscectomy for the treatment of lumbar disc herniation: pain, disability, and complication rate-a randomized clinical trial. Int J Spine Surg. 2020;14:72-8.

Yu H, Zhu B, Liu X. Comparison of percutaneous endoscopic lumbar discectomy and open lumbar discectomy in the treatment of adolescent lumbar disc herniation: a retrospective analysis. World Neurosurg. 2021;151:e911-7.

Ahn SS, Kim SH, Kim DW, Lee BH. Comparison of outcomes of percutaneous endoscopic lumbar discectomy and open lumbar microdiscectomy for young adults: a retrospective matched cohort study. World Neurosurg. 2016;86:250-8.

Barber SM, Nakhla J, Konakondla S, Fridley JS, Oyelese AA, Gokaslan ZL, et al. Outcomes of endoscopic discectomy compared with open microdiscectomy and tubular microdiscectomy for lumbar disc herniations: a meta-analysis. J Neurosurg Spine. 2019:1-14.

Qin R, Liu B, Hao J, Zhou P, Yao Y, Zhang F, et al. Percutaneous endoscopic lumbar discectomy versus posterior open lumbar microdiscectomy for the treatment of symptomatic lumbar disc herniation: a systemic review and meta-analysis. World Neurosurg. 2018;120:352-62.

Cong L, Zhu Y, Tu G. A meta-analysis of endoscopic discectomy versus open discectomy for symptomatic lumbar disk herniation. Eur Spine J. 2016;25:134-43.

Kim HS, You JD, Ju CI. Predictive scoring and risk factors of early recurrence after percutaneous endoscopic lumbar discectomy. Biomed Res Int. 2019;2019:6492675.

Kang TW, Park SY, Oh H, Lee SH, Park JH, Suh SW. Risk of reoperation and infection after percutaneous endoscopic lumbar discectomy and open lumbar discectomy : a nationwide population-based study. Bone Joint J. 2021;103-b:1392-9.

Kim M, Kim HS, Oh SW, Adsul NM, Singh R, Kashlan ON, et al. Evolution of spinal endoscopic surgery. Neurospine. 2019;16:6-14.

Kim M, Lee S, Kim HS, Park S, Shim SY, Lim DJ. A comparison of percutaneous endoscopic lumbar discectomy and open lumbar microdiscectomy for lumbar disc herniation in the Korean: a meta-analysis. Biomed Res Int. 2018;2018:9073460.

Li Z, Zhang C, Chen W, Li S, Yu B, Zhao H, et al. Percutaneous endoscopic transforaminal discectomy versus conventional open lumbar discectomy for upper lumbar disc herniation: a comparative cohort study. Biomed Res Int. 2020;2020:1852070.

Jarebi M, Awaf A, Lefranc M, Peltier J. A matched comparison of outcomes between percutaneous endoscopic lumbar discectomy and open lumbar microdiscectomy for the treatment of lumbar disc herniation: a 2-year retrospective cohort study. Spine J. 2021;21:114-21.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-04