การคาดการณ์การเสียชีวิตโดยใช้ REDS score ในผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่ห้องฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • จุฑาภรณ์ เบ็ญจเลาหรัตน์ โรงพยาบาลชลบุรี
  • ปิยะกาญจน์ สมบูรณ์สิทธิ์ โรงพยาบาลชลบุรี
  • ธราธร ดุรงค์พันธุ์ โรงพยาบาลชลบุรี

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะพิษเหตุติดเชื้อเป็นภาวะที่ควรได้รับการวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน เนื่องจากหากได้รับการวินิจฉัยล่าช้าจะนำไปสู่กระบวนการดูแลรักษาที่ล่าช้าตามมา ส่งผลให้ผู้ป่วยแย่ลงจนถึงแก่ชีวิตได้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาการนำ REDS score มาใช้ที่ห้องฉุกเฉิน เพื่อช่วยในการคัดกรองรวมถึงการคาดการณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ 28 วันหลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการคาดการณ์การเสียชีวิตในโรงพยาบาลที่ 28 วันโดยใช้ REDS score ในผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

วิธีการ: งานศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยใช้ REDS score ในการทำนายการเสียชีวิตในโรงพยาบาลที่ 28 วัน ทำการวิเคราะห์หาค่าความไว, ความจำเพาะ, ค่าการพยากรณ์ผลบวกและค่าการพยากรณ์ผลลบ รวมถึงพื้นที่ใต้กราฟ นำมาเปรียบเทียบกับ sMISSED และ qSOFA scores

ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 263 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิตหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.2 และในการคาดการณ์การเสียชีวิตที่ 28 วัน มีค่าความไว, ค่าความจำเพาะ, ค่าการพยากรณ์ผลบวกและค่าการพยากรณ์ผลลบของ REDS score ที่จุดตัดที่ 5 คะแนนนั้นอยู่ที่ร้อยละ 80, ร้อยละ 54.3, ร้อยละ 23.9 และร้อยละ 93.8 ตามลำดับ พื้นที่ใต้โค้งของ sMISSED, qSOFA และ REDS scores ในการคาดการณ์การเสียชีวิตในโรงพยาบาล มีค่าเท่ากับ 0.683, 0.587 และ 0.743 ตามลำดับ

สรุป: REDS score เป็นระบบการให้คะแนนเพื่อใช้ในการคาดการณ์การเสียชีวิตในผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อและมีความแม่นยำมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ sMISSED และ qSOFA scores

ประวัติผู้แต่ง

จุฑาภรณ์ เบ็ญจเลาหรัตน์, โรงพยาบาลชลบุรี

กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ปิยะกาญจน์ สมบูรณ์สิทธิ์, โรงพยาบาลชลบุรี

กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ธราธร ดุรงค์พันธุ์, โรงพยาบาลชลบุรี

กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

เอกสารอ้างอิง

Sivayoham N, Blake LA, Tharimoopantavida SE, Chughtai S, Hussain AN, Cecconi M, et al. The REDS score: a new scoring system to risk-stratify emergency department suspected sepsis: a derivation and validation study. BMJ Open 2019;9:1-10.

Singer M, Deutschman CS, Seymour CW, Shankar-Hari M, Annane D, Bauer M, et al. The third international consensus definitions for sepsis and septic shock (sepsis-3). JAMA 2016;315:801-10.

Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonelli M, Ferrer R, et al. Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock:2016. Crit Care Med 2017;45:486-552.

Angus DC, Poll TV. Severe sepsis and septic shock. N Engl J Med.2013;369:840-51.

Cohen J, Vincent JL, Adhikari NKJ, Machado FR, Angus DC, Calandra T, et al. Sepsis: a roadmap for future research. Lancet Infect Dis 2015;15:581-614.

Peake SL, Delaney A, Bailey M, Bellomo R, Cameron PA, Cooper J, et al. Goal-directed resuscitation for patients with early septic shock. N Engl J Med 2014;371:1496-506.

Yealy DM, Kellum JA, Huang DT, Barnato AE, Weissfeld LA, Pike F, et al. A Randomized Trial of Protocol-Based Care for Early Septic Shock. N Engl J Med 2014;370 :1683-93.

Mouncey PR, Osborn TM, Power GS, Harrison DA, Sadique MZ, Grieve RD, et al. Trial of Early, Goal-Directed Resuscitation for Septic Shock. N Engl J Med 2015;372:1301-11.

Seymour CW, Liu VX, Iwashyna TJ, Brunkhorst FM, Rea TD, Scherag A, et al. Assessment of clinical criteria for sepsis: for the third International consensus deinitions for sepsis and septic shock (Sepsis-3). JAMA 2016;315:762–74.

Freund Y, Lemachatti N, Krastinova E, Laer MV, Claessens YE, Avondo A, et al. Prognostic accuracy of Sepsis-3 criteria for in-hospital mortality among patients with suspected infection presenting to the emergency department. JAMA 2017;317:301–8.

Churpek MM, Snyder A, Han X, Sokol S, Pettit N, Howell MD, et al. Quick sepsis-related organ failure assessment, systemic inflammatory response syndrome, and early warning scores for detecting clinical deterioration in infected patients outside the intensive care unit. Am J Respir Crit Care Med 2017;195:906–11.

Song JU, Sin CK, Park HK, Shim SR, Lee J. Performance of the quick sequential (sepsis-related) organ failure assessment score as a prognostic tool in infected patients outside the intensive care unit: a systematic review and meta-analysis. Crit Care Med 2018;22:28.

Fernando SM, Tran A, Taljaard M, Cheng W, Rochwerg B, Seely AJE, et al. Prognostic accuracy of the quick sequential organ failure assessment for mortality in patients with suspected infection: a systematic review and meta-analysis. Ann Intern Med 2018;168:266–75.

Sivayoham N, Holmes P, Cecconi M, Rhodes A. The Simplified Mortality In Severe Sepsis in the emergency department (MISSED) score to risk stratify ED sepsis. Emergency Medicine Journal 2015;32:986-987.

Sivayoham N, Holmes P, Cecconi M, Rhodes A. Internal emergency department validation of the simplified missed score. Eur J Emerg Med 2015;22:321–6.

Sabir L, Ramlakhan S, Goodacre S. Comparison of qSOFA and Hospital Early Warning Scores for prognosis in suspected sepsis in emergency department patients: a systematic review. Emerg Med J 2022;39:284-294.

Khwannimit B, Bhurayanontachai R, Vattanavanit V. Comparison of the accuracy of three early warning scores with SOFA score for predicting mortality in adult sepsis and septic shock patients admitted to intensive care unit. Heart Lung 2019;48:240-244.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-04