ผลการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาภาวะพิษเหตุติดเชื้อต่ออัตราเสียชีวิตในโรงพยาบาลพนัสนิคม

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา เจริญขจรชัย Phanatnikhom Hospital

บทคัดย่อ

บทนำ : กระบวนชุดการรักษาภาวะพิษเหตุติดเชื้อภายใน 1 ชั่วโมง ถูกประกาศใช้เป็นแนวปฏิบัติใน Surviving Sepsis Campaign (SSC) 2018 มีหลักฐานว่าการปฏิบัติตามกระบวนชุดภายใน 3 ชั่วโมงช่วยลดอัตราเสียชีวิตได้ แต่ยังไม่ชัดเจนสำหรับระยะเวลา 1 ชั่วโมง งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาต่ออัตราตายในผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพนัสนิคม

วิธีการวิจัย : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเทียบอัตราเสียชีวิตใน 30 วันระหว่างกลุ่มที่ปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาที่ 1 ชั่วโมงได้กับกลุ่มที่ปฏิบัติตามไม่ได้ เกณฑ์คัดเลือกเข้าได้แก่ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพนัสนิคมตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ.2563 ถึง กันยายน พ.ศ.2564 วิเคราะห์อัตราการปฏิบัติตามแนวทางและความสัมพันธ์ต่ออัตราเสียชีวิตใน 30 วัน

ผลการวิจัย : มีผู้ป่วยในงานวิจัย 148 ราย ปฏิบัติตามแนวทางได้ 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.9 ปฏิบัติตามไม่ได้ 89 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.1 อัตราเสียชีวิตทั้งสองกลุ่มเท่ากับร้อยละ 16.9 และ 50.6 ตามลำดับ (OR=5.0, P < 0.001) วิเคราะห์แบบโลจิสติกพบอัตราเสียชีวิตสูงกว่าในกลุ่มปฏิบัติตามไม่ได้ (adjusted OR=3.4, P=0.01)

สรุป : การปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาภาวะพิษเหตุติดเชื้อภายใน 1 ชั่วโมง ช่วยลดอัตราเสียชีวิตใน 30 วันได้ แต่อัตราปฏิบัติตามได้ยังต่ำ จึงควรเน้นให้มีการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาภาวะพิษเหตุติดเชื้อเพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Singer M, Deutschman CS, Seymour CW, Shankar-Hari M, Annane D, Bauer M, et al. The third international consensus definitions for sepsis and septic shock (sepsis-3). JAMA 2016;315(8):801-10.

Rudd KE, Johnson SC, Agesa KM, Shackelford KA, Tsoi D, Kievlan DR, et al. Global, regional, and national sepsis incidence and mortality, 1990-2017: analysis for the Global Burden of Disease Study. Lancet 2020;395(10219):200-11.

Sakr Y, Jaschinski U, Wittebole X, Szakmany T, Lipman J, Ñamendys-Silva SA, et al. Sepsis in intensive care unit patients: worldwide data from the Intensive Care over Nation audit. Open Forum Infect Dis. 2018;5(12):ofy313.

Kaukonen KM, Bailey M, Suzuki S, Pilcher D, Bellomo R. Mortality related to severe sepsis and septic shock among critically ill patients in Australia and New Zealand, 2000-2012. JAMA 2014;311(13):1308-16.

กองบริหารการสาธารณสุข. คู่มือสำหรับประชาชน เรื่องเซ็พสิส (Sepsis) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://phdb.moph.go.th/main/index/download/613

Seymour CW, Gesten F, Prescott HC, Friedrich ME, Iwashyna TJ, Phillips GS, et al. Time to treatment and mortality during mandated emergency care for sepsis. N Engl J Med 2017;376(23):2235-44.

Prachanukool T, Sanguanwit P, Thodamrong F, Suttapanit K. The 28-day mortality outcome of the complete hour-1 sepsis bundle in the emergency department. Shock. 2021;56(6):969-74.

Ko BS, Choi SH, Shin TG, Kim K, Jo YH, Ryoo SM, et al. Impact of 1-hour bundle achievement in septic shock. J Clin Med. 2021;10(3):527.

Hu B, Xiang H, Dong Y, Portner E, Peng Z, Kashani K. Timeline of sepsis bundle component completion and its association with septic shock outcomes. J Crit Care 2020;60:143-51.

Contenti J, Corraze H, Lemoël F, Levraut J. Effectiveness of arterial, venous, and capillary blood lactate as a sepsis triage tool in ED patients. Am J Emerg Med 2015;33(2):167–72.

Karon BS, Tolan NV, Wockenfus AM, Block DR, Baumann NA, Bryant SC, et al. Evaluation of lactate, white blood cell count, neutrophil count, procalcitonin and immature granulocyte count as biomarkers for sepsis in emergency department patients. Clin Biochem 2017;50(16-17): 956–8.

Ljungström L, Pernestig AK, Jacobsson G, Andersson R, Usener B, Tilevik D. Diagnostic accuracy of procalcitonin, neutrophil-lymphocyte count ratio, C-reactive protein, and lactate in patients with suspected bacterial sepsis. PLoS One 2017;12(7):e0181704.

Baghdadi JD, Brook RH, Uslan DZ, Needleman J, Bell DS, Cunningham WE, et al. Association of a care bundle for early sepsis management with mortality among patients with hospital-onset or community-onset sepsis. JAMA Intern Med 2020;180(5):707–16.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30