โรคมะเร็งในผู้สูงอายุจังหวัดชลบุรี 2541-2560

ผู้แต่ง

  • จิตราพร ธนบดี โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี กรมการแพทย์

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์: ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งผู้สูงอายุก็เป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง การศึกษานี้บรรยายถึงระบาดวิทยาโรคมะเร็งเฉพาะประชากรสูงอายุ

วิธีการ: ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่อายุ 60 ปีขึ้นไปจากฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งระดับประชากรจังหวัดชลบุรีปี 2541-2560 ในการศึกษานี้ ได้รับการตรวจทาน และบันทึกลงในโปรแกรม Canreg5 รวมทั้งสถานะการมีชีพและสาเหตุการตายซึ่งติดตามจนถึงสิ้นปี 2564 จากนั้นคำนวณค่าสถิติ จำนวน อัตราอุบัติการณ์มาตรฐานตามอายุ ค่ามัธยฐานการรอดชีวิต อัตราการรอดชีวิตสัมพัทธ์ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุบัติการณ์คำนวณด้วย จอยพ้อยท์โมเดล

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งสูงอายุรายใหม่ 18092 ราย คิดเป็น ร้อยละ 48.9 ของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั้งหมด และ จำนวนผู้ป่วยมะเร็งสูงอายุในสิบปีหลังมากกว่าสิบปีแรก ร้อยละ 48 โดยในปี 2556-2560 พบอัตราอุบัติการณ์มาตรฐานตามอายุโรคมะเร็ง 585.4 และ 474.6 ต่อหนึ่งแสนประชากรในผู้สูงอายุชายหญิง ตามลำดับ มะเร็งที่พบบ่อย คือ มะเร็งตับท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ลำไส้ตรง มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมาก แนวโน้มของอัตราอุบัติการณ์มาตรฐานตามอายุโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นในช่วงสิบปีแรก จากนั้นมีแนวโน้มลดลงจนถึงปีล่าสุด ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของอุบัติการณ์รายปีในหญิงลดลงร้อยละ 0.3 แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของอุบัติการณ์ในชาย ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงรายปีของอุบัติการณ์ในมะเร็งลำไส้ใหญ่ลำไส้ตรงชายหญิง มะเร็งตับท่อน้ำดีชายหญิง มะเร็งเม็ดเลือดขาวชาย มะเร็งเต้านมหญิง มะเร็งไทรอยด์หญิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2-4 และมีค่าลดลง ร้อยละ 2 ในมะเร็งกระเพาะปัสสาวะชายหญิง มะเร็งปอดชาย มะเร็งเม็ดเลือดขาวหญิง อัตรารอดชีวิตโรคมะเร็งที่ 5 ปี ร้อยละ 18.4 และ 29.8 และค่ามัธยฐานการรอดชีวิตโรคมะเร็งเป็น 0.7 และ 1.6 ปี ในผู้สูงอายุชายหญิง ตามลำดับ

สรุป: แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยที่ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของอุบัติการณ์รายปีไม่เปลี่ยนแปลง มะเร็งที่เป็นภาระสำคัญในสูงอายุจังหวัดชลบุรี คือมะเร็งลำไส้ใหญ่ลำไส้ตรง มะเร็งตับท่อน้ำดี และมะเร็งเต้านมหญิง ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรฐานการดูแลรักษามะเร็งและการดูแลประคับประคองในผู้สูงอายุ

ประวัติผู้แต่ง

จิตราพร ธนบดี, โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี กรมการแพทย์

กลุ่มงานเวชศาสตร์ประคับประคอง

เอกสารอ้างอิง

Prasartkul P, Ritirong P, Shoanwan S, Sajjanavakul N, Jarratsit S, Tienlai K, et al. editors. Situation of the Thai older persons, 2021. Bangkok: Amarin printing & publishing; 2022.

Lichtman SM, Hurria A, Jacobsen PB. Geriatric oncology: an overview. J Clin Oncol, 2014; 32: 2521-2.

Fritz A, Percy C, Jack A, Shanmugaratnam K, Sobin L, Parkin DM, et al. editors. International classification of disease for oncology: 3rd ed. 1st rev. Malta: n.p.; 2013.

Curado MP, Okamoto N, Demaret E, Ferlay J, Carli PM, Izarzugaza I, et al. International rules for multiple primary cancer (ICD-O third edition). EUR J Cancer Prev, 2005; 14: 307-8.

National Statistical Office of Thailand. Population and housing census 2000. Bangkok: n.p.; 2002.

National Statistical Office of Thailand. Population and housing census 2010. Bangkok: n.p.; 2012.

Boyle P, Parkin DM. Statistical methods for registries. In; Jensen OM, Parkin DM, MacLennan R, Muir CS, Skeet RG, editors. Cancer registration, principles and methods. Lyon: IARC Press; 1991. p.126-58.

Parkin DM, Hakulinen T. Analysis of survival. In; Jensen OM, Parkin DM, MacLennan R, Muir CS, Skeet RG, eds. Cancer Registration, principles and methods. Lyon: IARC Press; 1991. p.159-76.

Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A. Global cancer statistics 2018: estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. Cancer J clin 2018; 68: 394-424.

Khuntikeo N, Chamadol N, Yongvanit P, Loilome W, Namwat N, Sithithaworn P, et al. Cohort profile: cholangiocarcinoma screening and care program. BMC Cancer, 2015; 15: 459.

Wirasorn K, Suwanrungruang K, Sookprasert A, Limpawattana P, Sirithanaphol W, Chindaprasirt J. Hospital-based population of elderly cancer cases in northeastern Thailand. Asian Pac J Cancer Prev, 2016; 17: 767-70.

Magalhaes B, Peleteiro B, Lunet N, Dietary patterns and colorectal cancer: systemic review and meta-analysis. Eur J Cancer Prev, 2012; 21: 15-23.

Yang L, Fujimoto J, Qiu D, Sakamoto N, Trends in cancer mortality in the elderly in Japan, 1970-2007. Annual Oncol, 2010; 21: 389-96.

National Cancer Institute. National cancer control programmes, 2018-2022. Bangkok: n.p.; 2018

Gondos A, Holleczek B, Arndt V, Stegmaier C, Ziegler H, Brenner H. Trends in population-based cancer survival in Germany: to what extent does progress reach older patients. Annual Oncol, 2007; 18: 1253-9.

Cinar D, Tas D. Cancer in the elderly. North Clin Istanbul, 2015; 2: 73-80.

Rojanamartin J, Ukranum W, Supaattagorn P, Chiawiriyabunya I, Wongsena M, Chaiwerawattana A, etal, editors. Cancer in Thailand vol X, 2016-2018. Bangkok: n.p.; 2021.

Thepsuwan K, Tanabodee J, editors. Cancer incidence in eastern region, Thailand 2008-2012. Chonburi: n.p.; 2015.

Rossouw JE, Anderson GL, Prentice RL, LaCroix ZL, Kooperberg C, Stetanick ML, et al. Risks and benefits of estrogen plus progestin in healthy postmenopausal woman: principal results from the woman’s health initiative randomized controlled trial. JAMA, 2002; 288: 321-33.

Thepsuwan K, Martin N, Pattatang A, Tanabodee J, Pongpanich K, editors. Cancer incidence and mortality in Chonburi, Thailand volume II, 2003-2007. Chonburi: n.p.; 2009.

Sirisamutr T, Butchon R, Putchong C, Sriplung H, Praditsithikorn N, Ingsrisawang L, et al. The evaluation of outcomes and determinants of cervical cancer screening programme using pap smear and visual inspection with acetic acid in Thailand during 2005-2009. J Health Sci 2012; 21: 538-56.

Shahhrokni A, Kim SJ, Bosl GJ, Korc-Grodzick B. How we care for an older patient with cancer. J oncol Pract, 2017; 13: 95-102.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30 — อัปเดตเมื่อ 2023-06-01

เวอร์ชัน