ปัจจัยเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดจากภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและเชิงกราน ในสตรีตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • ชัยกิจ อุดแน่น โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

บทคัดย่อ

ความสำคัญ : ภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและเชิงกราน (Cephalopelvic Disproportion: CPD) ในสตรีตั้งครรภ์ เป็นหนึ่งในสาเหตุของการผ่าตัดคลอดที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสตรีและทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดจากภาวะ CPD ในสตรีตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วิธีการศึกษา : เป็นงานวิจัยแบบ Case control study ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1 ปี (ปีงบประมาณ 2565) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น กลุ่มศึกษา ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดจากภาวะ CPD จำนวน 100 ราย และกลุ่มควบคุม (Control) ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ที่แบบปกติ (Normal delivery) จำนวน 200 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลที่ออกแบบโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน และ Multivariable logistic regressions กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา : ปัจจัยเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดจากภาวะ CPD ในสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ ส่วนสูงของมารดาที่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร (ORadj=3.43, 95%CI 1.57 – 6.67) น้ำหนักก่อนคลอดที่มากกว่าหรือเท่ากับ 68 กิโลกรัม (ORadj=2.77, 95%CI 1.38 – 5.55) ระดับความสูงของยอดมดลูกที่มีขนาดมากกว่า 37 เซนติเมตร (ORadj=2.31, 95%CI 1.14 – 4.75) ความกว้างของช่องเชิงกรานไม่เหมาะสมกับการคลอดทางช่องคลอด (Inadequate) (ORadj=1.91, 95%CI 1.07 – 3.38) และน้ำหนักตัวของทารกมากกว่า 3,500 กรัม (ORadj=2.89, 95%CI 1.35 – 4.65)

สรุป : ปัจจัยเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดจากภาวะ CPD ในสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ ส่วนสูงของมารดาที่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร น้ำหนักก่อนคลอดที่มากกว่าหรือเท่ากับ 68 กิโลกรัม ระดับความสูงของยอดมดลูกที่มีขนาดมากกว่า 37 เซนติเมตร ความกว้างของช่องเชิงกรานไม่เหมาะสมกับการคลอดทางช่องคลอดและน้ำหนักตัวของทารกมากกว่า 3,500 กรัม ดังนั้นสูตินรีแพทย์จึงควรพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงทั้ง 5 ด้าน ในการดูแลสตรีและทารกในครรภ์ ตลอดจนนำเสนอวิธีการคลอดที่เหมาะสมกับสตรีตั้งครรภ์ในอนาคตต่อไป

ประวัติผู้แต่ง

ชัยกิจ อุดแน่น, โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

กลุ่มงานสูติ-นารีเวชกรรม

เอกสารอ้างอิง

ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์, กุศล รัศมีเจริญ, ตรีภพ เลิศบรรพงษ์, บรรณาธิการ. ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

นิติพร อยู่แก้ว. อัตราผ่าคลอดตามระบบร้อบสัน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560;7(3):262-71.

Betran AP, Ye J, Moller AB, Zhang J, Gulmezoglu AM, Torloni MR. The increasing trend in Caesarean section rate: Global, regional and national estimates: 1990-2014. PLoS ONE 2016;11(2):e0148343.

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ระบบรายงาน Service Plan อัตราการผ่าท้องคลอด ปี 2562 – 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://cmi.moph.go.th/isp/sp_obs/index?menu_id=6.

Yukaew N. Cesarean section rate according to Robson’s classification. J Med Assoc Thai 2017;7(3):262-70.

ธีระ ทองสง, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส์ เซ็นเตอร์; 2551.

ศศิวิมล ศรีสุโข. Topic review: cephalopelvic disproportion: pelvic assessment [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 12 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/3049/.

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. รายงานผู้ป่วย พ.ศ. 2560–2564. ตาก: โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช; 2565.

นิรันดร์ อินทรัตน์, สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์. การวิเคราะห์ข้อมูลการจับคู่ในการศึกษาย้อนหลังโดยใช้ Conditional logistic regression model. DMBN E Journal 2549;2(1):19-26.

Taeger D, Kuhnt S. Statistical hypothesis testing with SAS and R. Chichester: Wiley; 2014.

สมบัติ ศักดิ์สง่าวงษ์. ปัจจัยเสี่ยงและคะแนนความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องจากภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและเชิงกรานที่โรงพยาบาลกุมภวาปี. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;25(2):30-42.

Liselele HB, Boulvain M, Tshibangu KC, Meuris S. Maternal height and external pelvimetry to predict cephalopelvic disproportion in nulliparous African women: a cohort study. BJOG: An Inter J Ob & Gyn 2000;107:947-52.

Khunpradit S, Patumanond J, Tawichasri C. Development of risk scoring scheme for prediction of cesarean section due to cephalopelvic disproportion in Lamphun Hospital, Thailand. J Ob Gyn Res 2007;33(4):445–51.

Wianwiset W. Risk factors of cesarean delivery due to cephalopelvic disproportion in nulliparous women at Sisaket Hospital. Thai J Ob & Gyn 2011;19:158-64.

ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์. น้ำหนักตัวมารดากับการตั้งครรภ์: ปัจจัยที่สูติแพทย์อาจมองข้าม. เวชบันทึกศิริราช 2551;1(2):81-90.

Stotland NE, Hopkins LM, Caughey AB. Gestational weight gain, macrosomia, and risk of cesarean birth in nondiabetic nulliparas. Obstet Gynecol 2004;104:671-7.

สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น, ราตรี พลเยี่ยม, ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสูงยอดมดลูกกับการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในผู้คลอดครรภ์ครบกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564;15(38):497-507.

พัชรี เรืองเจริญ, กุณฑรี ไตรศรีศิลป์. ภาวะทารกตัวโต (macrosomia) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6721/.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-04