This is an outdated version published on 2024-05-01. Read the most recent version.

ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อความตั้งใจที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30 - 60 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พวงพร นราชัย สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา
  • ศศิกานต์ กัลปหา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา
  • บุญฤดี บัญชา พยาบาลวิชาชีพ
  • ปัทมา รักเกื้อ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา
  • เสาวนีย์ โปษกะบุตร คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อความตั้งใจที่จะเข้ารับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรี 30 - 60 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 23 คน ได้แก่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการให้สุขศึกษา 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อความตั้งใจที่จะเข้ารับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้การป้องกันโรค และแบบประเมินความตั้งใจในเข้ารับการตรวจคัดกรอง เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติ Wilcoxon (matched- pairs) signed-ranks test และ Mann-Whitney U test

ผลการวิจัย พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีการรับรู้การป้องกันโรคและความตั้งใจที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดีกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (p < 0.05) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p < 0.05) เห็นได้ว่าโปรแกรมดังกล่าวทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเพิ่มขึ้น บุคลากรสาธารณสุขควรนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนารูปแบบการบริการเพื่อแก้ปัญหาการเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคในกลุ่มเป้าหมายอื่นต่อไป

คำสำคัญ : ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค; มะเร็งปากมดลูก; การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก; สตรีกลุ่มเสี่ยง

ประวัติผู้แต่ง

พวงพร นราชัย, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา

มหาวิทยาลัยทักษิณ

ศศิกานต์ กัลปหา, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา

มหาวิทยาลัยทักษิณ

บุญฤดี บัญชา, พยาบาลวิชาชีพ

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง

ปัทมา รักเกื้อ, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา

มหาวิทยาลัยทักษิณ

เสาวนีย์ โปษกะบุตร, คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา

มหาวิทยาลัยทักษิณ

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Cervical cancer 2016 [Internet]. 2013 [cited 2022 July 30]. Available from: https://www.who.int/cancer/preventi on/diagnosis-screening/cervical- cancer/en/.

World Health Organization. Cervical cancer [Internet]. 2022 [cited 2022 July 10]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cervical-cancer

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https//nci.go.th

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. สถานการณ์การตายจากโรคมะเร็ง [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ10 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/analysis/10health/54_63/54_63_4.pdf

สถิติสุขภาพคนไทย. อัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูก (เพศหญิง) นครศรีธรรมราช [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index. php?ma=3&p01818101&tp=13_5

สมศักดิ์ อรรฆศิลป์. เดือนมกราคมร่วมกันรณรงค์ต้านภัยมะเร็งปากมดลูก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_ page?contentId=31517

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th

กระทรวงสาธารณสุข. เขตสุขภาพที่ 11 อัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 – 60 ปี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th /hdc/main/index.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. อัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30–60 ปี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://nrt.hdc.moph. go.th

กฤช สอนกอง.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลตากตก จังหวัดตาก. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2564;28:61-74.

Rogers RW. Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. New York: Guilford; 1983.

บุษบา อภัยพิม, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อพฤติกรรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562;7:381-402.

พัณณ์ชิตา จันทร์สุหร่าย, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ต่อพฤติกรรมป้องกันและการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2564;27:65-76.

รัฐพล สาแก้ว, จงกลณี ธนาไสย์, บัณฑิต วรรณประพันธ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหนองเหล็ก อําเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนี นครราชสีมา 2560;23:17-30.

ศิริวรรณ จันทร์แจ้ง,พัชราพร เกิดมงคล, ทัศนีย์ รวิวรกุล. ผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีมุสลิม.วารสารสุขศึกษา 2562;42:52-62.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://home.kku.ac.th/phlib /ebooks /StatHealthSciRes.pdf

ทิพวรรณ โคตรสีเขียว. ผลของโปรแกรมการสอนเพื่อสร้างแรงจูงใจร่วมกับนวัตกรรม “Mask in the world” ที่มีต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและผลการตรวจคัดกรองในสตรีอายุ 30 – 60 ปี จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563;17:58-70.

ศรีสุรัตน์ ชัยรัตนศักดา. ผลการใช้โปรแกรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2564;18:60-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

เวอร์ชัน