ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลโพธิ์ไทร

ผู้แต่ง

  • อภิญญา จันทร์สด มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ปวีณา ลิมปิทีปราการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

แรงสนับสนุนทางสังคมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคของบุคคล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการสอนการดูแลช่องปากตามปกติของทางโรงเรียน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ พฤติกรรมในการป้องกันโรคฟันผุก่อนและหลังการใช้โปรแกรม ร่วมกับการตรวจแผ่นคราบจุลินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน Paired Sample T-test และ Independent T-test กำหนดค่าระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้โรคฟันผุ (Mean diff. = 2.21, 95% CI = 0.86-3.56, p-value =0.002) พฤติกรรมในการป้องกันโรคฟันผุ (Mean diff. = 5.00, 95% CI = 3.56-6.43, p-value<0.001) และมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ต่ำกว่าก่อนการทดลอง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (Mean diff 0.60 =, 95% CI =0.34-0.85, p-value<0.001). แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กกลุ่มวัยเรียน เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียฟันแท้ในอนาคตได้

ประวัติผู้แต่ง

อภิญญา จันทร์สด, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข

ปวีณา ลิมปิทีปราการ, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข

เอกสารอ้างอิง

Division of Dental Health, Department of Health, Ministry of Public Health. The 8th National Oral Health Survey Report. Bangkok: Samcharoen Panich; 2017.

Dental Public Health. Ubonratchathani Provincial Health Office. health status survey report oral cavity of elementary school students; 2021.

Dental Public Health. Phosai Hospital Ubonratchathani Province. School-age population data; 2021.

Aungarun Somnuk. Effects of the Multimedia Oral Health Education Program by applying Social Support on Knowledge, Brushing Behavior and Plaque Level in Sixth-Grade Primary School Students at Lue Amnat, Amnat Charoen. Thai Dental Nurse Journal 2021;32(1):115-130.

House, J. S. The Association of Social Relationship and Activities with Mortality. Community Health Study. American Journal Epidemiology. 1981;3(7):25-30.

Nisanas Krai. The Effectiveness of Dental Health Education Program on Behavioral Modification for Dental Caries Prevention in Sixth Grade Students at Thungyai District, Nakhon sithammarat Province. Thesis of Master of Public Health, Graduate School Suratthani Rajabhat University; 2018.

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. PSYCHOL REV 1997;84(2): 191-215.

Phornthicha Sattanako. The Effect of Modifying the Behavior of The Oral Health Care by Learning Together to Change their Behavior to Prevent Dental Caries and Gingivitis Students Primary School 4-6 in Selaphum District, Roi Ed Province. Thesis of Master of Public Health, Graduate School Mahasarakham University; 2019.

Best, J.W. Research in Education. (3rd ed). Englewood Cliffs, New Jersy: Pretice Hall, Inc; 1981.

Bloom, B. S. Handbook on formative and summative evaluation of study of learning. New York: David Mackey; 1975.

Greene, J. C., & Vermillion, J. R. The oral hygiene index: A method for classifying oral hygiene status. The Journal of the American Dental Association. 1960;61(2):172-179.

Kitisak Watyota. Effectiveness of an Oral Health Promotion Program on Oral Health Behavior Among 12 Year- old Students in Kosamphi Nakhon District, Kamphaengphet Province. CM Dent J 2019;40(1):81-96.

Watcharawaree Ketdee. The Effect of Heath Promotion Program for Dental caries Preventive Behaviors Among Grade 6 Student at Bannongkula Primary School. Thesis of Master of Public Health in Health Education and Health Promotion, Graduate School Naresuan University; 2019

Chalerm Hongsud. The Effects of Health Education Programs on Promoting Oral Health Care to Prevent Dental Caries of Primary School Students in the District of Nong Phue Amphoe Chaturaphukpiman, Roi-et Province. Thesis of Master of Public Health,Graduate School Mahasarakham University; 2019.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-01-04 — อัปเดตเมื่อ 2024-01-14

เวอร์ชัน