ฤดูฝนระวังไข้เลือดออก

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย ตันติภาสวศิน โรงพยาบาลชลบุรี

บทคัดย่อ

ในช่วงฤดูฝนแบบนี้กลุ่มโรคที่จะไม่พูดถึงไม่ได้คือ “กลุ่มโรคที่มากับยุงลาย” ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ไม่ติดต่อจากคนสู่คน โรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) โรคไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya Fever) และโรคไข้ซิกา (Zika Fever) โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นซึ่งมีฝนตกชุกอย่างประเทศไทย ทำให้ลูกน้ำยุงลายมีปริมาณมากและเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus: DENV) มักจะเกิดการระบาดในฤดูฝน แต่ปัจจุบันพบการระบาดได้ตลอดทั้งปี ในเมืองใหญ่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น โอกาสเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกจะเพิ่มมากขึ้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกกลุ่มอายุ พบมากในเด็ก กลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกมากที่สุดคืออายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี 15-24 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ ในกรณีที่โรคมีความรุนแรงมาก หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราการเสียชีวิต 1 ราย ต่อผู้ป่วย 1,000 ราย จาก 2 สาเหตุสำคัญคือ ภาวะเลือดออกมาก และเลือดรั่วจากเส้นเลือดจนเกิดภาวะช็อก

ประวัติผู้แต่ง

สิทธิชัย ตันติภาสวศิน, โรงพยาบาลชลบุรี

หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-04