การรักษาโรคหนองในเยื่อหุ้มปอดในโรงพยาบาลสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
โรคหนองในเยื่อหุ้มปอด, ลอกผนังโพรงหนอง, ใส่สายระบายหนองในเยื่อหุ้มปอดบทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา : โรคหนองในเยื่อหุ้มปอด (empyema thoracis) เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพที่สูง มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลที่นานและมีค่าใช้จ่ายที่สูง ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษารวบรวมข้อมูลผู้ป่วยเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและสรุปผลการรักษาผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ เพื่อพัฒนาวิธีการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ : วางแผนการรักษา, คาดการณ์ผลการรักษาผู้ป่วยโรคหนองในเยื่อหุ้มปอดและเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการใส่สายระบายหนองในเยื่อหุ้มปอด (ICD) ก่อนทำการผ่าตัด และกลุ่มผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดโดยไม่ได้ใส่สายระบายหนองในเยื่อหุ้มปอดก่อน
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษา retrospective cohort study จากเวชระเบียนผู้ป่วยจำนวน 37 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหนองในเยื่อหุ้มปอด (empyema thoracis) ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2566 เก็บข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย วิธีการรักษา ระยะเวลานอนโรงพยาบาลและผลลัพธ์ของการรักษา นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการศึกษา : ผู้ป่วย 37 รายอายุเฉลี่ย 56 ปี ร้อยละ 75 เป็นเพศชาย สาเหตุการเกิดโรคหนองในเยื่อหุ้มปอดร้อยละ 91 เกิดจากการติดเชื้อในปอด (pneumonia) มีการรักษาโดยการผ่าตัด decortications 23 ราย (62%) เป็นการผ่าตัด decortications โดยไม่ใส่ chest tube drainage ก่อน 13 ราย (56%) ในกรณีใส่ chest tube drainage ก่อนการผ่าตัด decortications ระยะเวลาเฉลี่ยหลังใส่ chest tube drainage ถึงผ่าตัด 8 วัน ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมด 16 วัน กลุ่มใส่ chest tube drainage ก่อนผ่าตัดมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 29 วันและกลุ่มที่ผ่าตัดอย่างเดียว มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 20 วัน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย (5%) แบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด decortication 1 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัด decortication 1 ราย การผ่าตัด decortication โดยไม่จำเป็นต้องใส่ chest tube drainage ก่อนสามารถลดระยะเวลานอนโรงพยาบาลลงได้ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด decortication มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลที่นานกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัด decortication อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.02)
สรุป : การผ่าตัด decortications ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ โดยไม่ต้องใส่ chest tube drainage ก่อนสามารถลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลลงได้
เอกสารอ้างอิง
Maskell NA, Batt S, Hedley EL, Davies CW, Gillespie SH, Davies RJ. The bacteriology of pleural infection by genetic and standard methods and its mortality significance. Am J Respire Crit Care Med 2006;174(7):817-23.
Finley C, Clifton J, Fitzgerald JM, Yee J. Empyema: an increasing concern in Canada. Can Respire J 2008;15(2):85-9.
Adams F. The genuine works of Hippocrates. Baltimore: Williams & Wilkins; 1939.
Watkins E Jr, Fielder CR. Management of nontuberculous empyema. Surg Clin North Am 1961;41:681-93.
Young WG, Ungerleider RM. Surgical approach to a chronic empyema. In: Deslauriers J, Lacquet LK, editors. Thoracic surgery: surgical management of pleural disease. St. Louis: Mosby; 1990. p. 247-56.
Asciak R, Bedawi EO, Bhatnagar R, Clive AO, Hassan M, Lloyd H, et al. British Thoracic Society Clinical Statement on pleural procedures. Thorax 2023 Jul;78 (Suppl 3):s43-s68.
Maskell NA, Davies CW, Nunn AJ, Hedley EL, Gleeson FV, Miller R, et al. U.K. Controlled trial of intrapleural streptokinase for pleural infection. N Engl J Med 2005;352:865-74.
Rahman NM, Maskell NA, West A, Teoh R, Arnold A, Mackinlay C, et al. Intrapleural use of tissue plasminogen activator and DNase in pleural infection. N Engl J Med 2011;365(6):518-26.
Chambers A, Routledge T, Dunning J, Scarci M. Is video-assisted thoracoscopic surgical decortication superior to open surgery in the management of adults with primary empyema? Interact Cardiovasc Thorac Surg 2010;11(2):171-7.
Endoh M, Shiono S. Strategy for surgical treatment of acute thoracic empyema in adults. Curr Chall Thorac Surg 2021;3:4.
Malhotra P, Aggarwal AN, Agarwal R, Ray P, Gupta D, Jindal SK. Clinical characteristics and outcomes of empyema thoracis in 117 patients: A comparative analysis of tuberculous vs. non-tuberculous aetiologies. Respir Med 2007;101:423-30.
Ferguson AD, Prescott RJ, Selkon JB, Watson D, Swinburn CR. The clinical course and management of thoracic empyema. QJM 1996;89:285-9.
Nwiloh J, Freeman H, McCord C. Malnutrition: an important determinant of fatal outcome in surgically treated pulmonary suppurative disease. J Natl Med Assoc 1989;81(5):525-9.
Chaitra KM, Mohan Kumar N, Saipraneeth Reddy G. Hyponatremia in lower respiratory tract infections. International Journal of Contemporary Pediatrics 2016;3(2):381-4.
Glinjongol Ch. Management of empyema thoracis in Ratchaburi Hospital. Region7 Medical Journal 1992;1:5-14.
Ronchetto F, Pistono PG, Stacchini E, Guasco C. Thoracic empyema caused by anaerobes. 78-month retrospective study. Clinical and microbiological aspects. G Batteriol Virol Immunol 1992;85(1-12):26-34.
Lappikulthong A, Glinjongol C, Vongsangcom Y. Factors affected the length of hospital stay of surgical empyema thoracis patient at Ratchaburi hospital. Region 4-5 Medical journal 2017;36(2):71-7.
Elsayed HH, Mostafa A, Fathy E, Diab HS, Nofal IM, AbdelHamid OA, et.al. Thoracoscopic management of early stages of empyema: is this the gold standard? J Vis Surg 2018;4:114.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2024-05-18 (2)
- 2024-05-01 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพิ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลชลบุรี