This is an outdated version published on 2024-01-07. Read the most recent version.

การพัฒนาระบบยาเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านความปลอดภัยจากการใช้ยา โรงพยาบาลชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ภิรดี ปิยะมาน โรงพยาบาลชลบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบยาเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านความปลอดภัยจากการใช้ยา โรงพยาบาลชลบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของระบบยาต่อการส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาในโรงพยาบาลชลบุรี รูปแบบงานวิจัยเป็นงานวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) โดยเก็บข้อมูลความปลอดภัยด้านยาจากฐานข้อมูลของระบบยา ในด้านความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของโรงพยาบาลชลบุรี  ผลการศึกษาพบว่า สามารถเพิ่มการรายงานเหตุการณืไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Event)จากกลุ่มสหสาขาวิชาชีพมากขึ้นได้ แต่ยังพบความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ชนิดป้องกันได้ (Preventable Adverse Drug Event ) ในระดับ E ขึ้นไปแสดงว่านโยบายและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของระบบยาในด้านนี้ยังควรต้องมีการทบทวนปรับปรุงต่อไป ส่วนประเด็นความปลอดภัยด้านความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error) 3ชนิด ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา (Prescribing Error) ความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยา (Dispensing Error) และความคลาดเคลื่อนจากการบริหารยา (Administration Error) พบว่าผลลัพธ์การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย

ประวัติผู้แต่ง

ภิรดี ปิยะมาน, โรงพยาบาลชลบุรี

กลุ่มงานเภสัชกรรม

เอกสารอ้างอิง

Sahib AS, Al-Biati HA, Mosah HA. Evaluation of Medication Errors in Hospitalized Patients. AL-Kindy College Medical Journal 2012;8(2):75-79

Reddy PS, BiJu V, Bhavana I. Identifying Medication Errors in a Tertiary Care Teaching Hospital: A Prospective Observational Study. Journal of Drug Delivery and Therapeutics 2019; 9(6-s): 103-106.

World Health Organization. WHO launches global effort to halve medication-related errors in 5 years [ online] 2017 [cited 2023 Jul.26]. Available from: http://www.who.int

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์กรมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. ฉบับที่ 5. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์กรมหาชน); 2565.

สุทธิลักษณ์ ริ้วธงชัย. ผลการพัฒนาระบบบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโดยใช้ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ต่อความคลาดเคลื่อนทางยา โรงพยาบาลบางจาก. ว.วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16(1): 72-85.

ณฐมน สุคนนท์, วรางคณา สีมาพล, มนัสนันท์ วงษ์ครุฑ, น้ำทิพย์ คงนิล, นิชาภา ทองศรี, ธีราพร สุภาพันธ์. การพัฒนาระบบการคัดกรองใบสั่งยาแผนกผู้ป่วยในเพื่องลดความคลาดเคลื่อนทางยาโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จ.อุบลราชธานี. ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 2564; 17(3): 25-38.

อัญชลี อิงศธรรมรัตน์, สุจิตรา ตั้งมั่นคงวรกุล. ผลการคัดกรองคำสั่งใช้ยาและอุบัติการณ์ณืการเกิดความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2564; 18(1): 1-10

เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. การศึกษาความคลาดเคลื่อนการจัดยาของเครื่องจัดยาอัตโนมัติและตู้อิเล็กทรอนิกส์จัดยาแบบต่างๆในการบริการจ่ายยาผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 2563; 16(3): 39-51.

จันทิมา ศิริคัณทวานนท์, นันทยา ประคองสาย. ผลการพัฒนา Medication Reconciliation ต่อความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลพระปกเกล้า. ว.ศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2557; 31(4) 232-247

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-01-04 — อัปเดตเมื่อ 2024-01-07

เวอร์ชัน