This is an outdated version published on 2024-05-18. Read the most recent version.

ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ผู้แต่ง

  • ภัทิรา ตันติภาสวศิน คณะแพทยศาสตร์
  • สิทธิชัย ตันติภาสวศิน Chonburi hospital

บทคัดย่อ

โลกของเรามีก๊าซเป็นองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศหุ้มห่อพื้นผิวโลกอยู่ ทำหน้าที่ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ไม่ให้ส่องมาถึงพื้นผิวโลกมากเกินไป โดยมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ และดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดร้อน (Thermal Infrared Range)  ที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ สร้างความร้อนและกักเก็บเอาไว้ในชั้นบรรยากาศ ก่อนปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก และยอมให้เกิดการสูญเสียความร้อนออกสู่ห้วงอวกาศเพียงเล็กน้อย ภาวะที่ชั้นบรรยากาศที่ห่อปกคลุมผิวโลก กระทำตัวเสมือนเรือนกระจก ทำให้เรียกก๊าซที่ห่อหุ้มโลกว่า “ก๊าซเรือนกระจก” (Greenhouse gases: GHG)และเรียกภาวะที่ชั้นบรรยากาศกักเก็บความร้อนไว้ภายในโลก โดยยอมให้สูญเสียความร้อนออกนอกโลกเพียงส่วนน้อยว่า “ภาวะเรือนกระจก(Greenhouse effect)

ภาวะเรือนกระจกมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก ดังรูปที่ 2 หากปราศจากภาวะเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกจะติดลบ อยู่ที่ประมาณ -20 องศาเซลเซียส โลกต้องมีก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่เหมาะสม ในอดีตก๊าซเรือนกระจก มาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เกิดสมดุลทางความร้อนในชั้นบรรยากาศ ทำให้โลกมีความอบอุ่น มีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อสรรพชีวิตบนผิวโลก ทั้งมนุษย์ พืชและสัตว์ ตลอดจนการดำรงอยู่ของธรรมชาติบนโลก ในทางกลับกันหากมีก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุทำให้โลกมีความร้อนเพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิโลกอาจสูงขึ้นจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต และธรรมชาติบนโลกใบนี้ ก๊าซเรือนกระจกในธรรมชาติ ประกอบด้วย ไอน้ำ (H2O) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โอโซน (O3) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซเหล่านี้มีปริมาณรวมกันไม่ถึงร้อยละ 1 ของก๊าซในชั้นบรรยากาศ ไอระเหยของน้ำ เป็นต้นเหตุทำให้โลกร้อนมากถึงร้อยละ 30-60 (ไม่รวมก้อนเมฆ) คาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวการอีกประมาณร้อยละ 9–26 แก๊สมีเทน (CH4) เป็นตัวการร้อยละ  4–9  และโอโซน ร้อยละ  3–7

ปัจจุบันปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ห่อหุ้มโลกของเรามีปริมาณสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว จากการก่อมลพิษทางอากาศ เกิดการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนซึ่งปกป้องผิวโลก ทำให้รังสีความร้อนสะท้อนกลับออกไปนอกโลกได้น้อยลง รังสีอัลตราไวโอเลตผ่านเข้ามาสัมผัสพื้นผิวโลกได้เพิ่มมากขึ้น แล้วสะท้อนผิวโลกกลับเป็นรังสีอินฟาเรด หรือคลื่นความร้อนมากขึ้น ก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากนี้ทำการดูดซับความร้อนที่เกิดขึ้นไว้มากขึ้น โลกของเราจึงร้อนขึ้น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดเป็นภาวะที่เราเรียกกันว่า “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming) พอความร้อนเพิ่มสูงขึ้นจนกระทบกับวิถีธรรมชาติ และภูมิอากาศเดิม จนสามารถก่อให้เกิด “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Climate Change)  ทำให้เกิดความแปรปรวนของปรากฎการณ์ต่างๆ บนโลก เรียก “ภาวะโลกรวน” ในอดีตไม่ใช่ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ใช้ระยะเวลายาวนาน หลักร้อย-พันปี แต่ในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วมาก เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนหลัก และพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นมากของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 3 ตัว คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และมีเทน (CH4

ภาวะโลกร้อน” (Global warming) เป็นคำจำเพาะของอุบัติการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลก ทั้งผิวดินและผิวน้ำในมหาสมุทร ในทุกช่วงเวลาของโลกเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 5การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average Weather) หมายความรวมถึงลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม ฯลฯ ในพื้นที่หนึ่งๆ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ใช้คำว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Climate Change) สำหรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อม ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ และใช้คำว่า "การผันแปรของภูมิอากาศ" (Climate Variability) สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเหตุอื่น6 ในขณะที่ ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเนื่องมาจากความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิอากาศบริเวณผิวโลกสูงขึ้น

ประวัติผู้แต่ง

ภัทิรา ตันติภาสวศิน, คณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา

สิทธิชัย ตันติภาสวศิน, Chonburi hospital

หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

เอกสารอ้างอิง

United States Environment Protection Agency.

Basicsof Climate Change. Available from: https://

www.epa.gov/climatechange-science/basics-climate-change

Gavin Schmidt.Water vapour: feedbackor forcing?

RealClimate: Water vapour: feedback or forcing?

Feb 11, 2554 BE. Available from: https://www.

bradford-delong.com/2011/02/gavin-schmidt-water-vapor-feedback-or-forcing.html

BBC News ไทย. คู่มืออย่่างง่่าย ในการทำำความเข้้าใจ

"โลกร้้อน". 27 พฤศจิกายน 2023. Available from:

https://www.bbc.com/thai/articles/cn4p6y31qgeo

U.S. EPA,Climate Change Indicators in the United

States: Atmospheric Concentrations of Greenhouse Gases, 2021. Available from: https://

www.epa.gov/climate-indicators/climate-change-

indicators-atmospheric-concentrations-greenhouse-

gases

วิกิพีเดีย ภาวะโลกร้้อน 9 เมษายน 2567. Available

from: https://th.wikipedia.org

ศููนย์์ภููมิอากาศ กรมอุุตุุนิิยมวิิทยา (Climate Center)

การเปลี่่ยนแปลงภููมิอากาศ คืออะไร 9 เมษายน 2567.

Available from: http://climate.tmd.go.th/content/

article/9

ก๊๊าซเรือนกระจก” ตััวการ “ภาวะโลกร้้อน 20 ธัันวาคม 2566.

Available from: https://www.senate.go.th/view/386

ภาวะโลกร้้อนและก๊๊าซเรือนกระจกคืออะไร มีกี่่ชนิิด

สาเหตุุและร่่วมหาทางแก้้ไข12/07/2022. Availablefrom:

https://www.gmssolar.com/global-warming-is/

The Royal Society and the US National Academy

of Sciences Climate Change Evidence & Causes,

Available from: https://royalsociety.org/-/

media/education/teacher-consultant-resources/

climate-change-evidence-causes.pdf

ศููนย์์ภููมิอากาศ กรมอุุตุุนิิยมวิิทยา. สภาวะโลกร้้อน.

Available from: http://climate.tmd.go.th/content/f

ile/11

Lindsey R, DahlmonL. Climatechange:global temperature. January 18,2024. Available from: https://

www.climate.gov/news-features/understandingclimate/climate-change-global-temperature

เมื่่อรู้้แล้้วว่่าเราเหล่่ามวลมนุุษย์์ คือ ต้้นเหตุุ

สำคััญของปััญหาโลกร้้อน การแก้้ไขปััญหา

อย่่างถููกต้้องและได้้ผลก็คือ การเริ่่มต้้น

แก้้ไขจากต้้นเหตุุที่่แท้้จริิง เพราะฉะนั้้น

ลดโลกร้้อนตั้้งแต่วัันนี้้เริ่่มต้้นที่่เรา

Berger A, Mélice JL, Loutre MF. On the origin

of the 100-kyr cycles in the astronomical forcing. Paleoceanography 2005;20:PA4019.

doi:10.1029/2005PA001173.

Genthon G, BarnolaJ, Raynaud D,Lorius C, Jouzel

J, Barkov N,etal. Vostokicecore:climaticresponse

to CO2 and orbital forcing changes over the last

climatic cycle. Nature 1987;329:414–8. Available

from: https://www.nature.com/articles/329414a0

Alley RB, Brook EJ, Anandakrishnan S. A northern lead in

the orbital band: north-south phasing of Ice-Age events.

Quaternary Science Reviews 2002;21:431-41. Available

from:http://www.ingentaconnect.com/content/els/0277

/2002/00000021/00000001/art00072

Robock A, Oppenheimer C,editors. Volcanism and

the Earth’s atmosphere, Geophysical Monograph

Washington, DC: American Geophysical

Union; 2003.

Contributionof Working Group I totheThird Assessment Reportof theIntergovernmental Panelon Climate

Change. Climate Change2001:The Scientific Basis.

Cambridge University Press; 2001. Available from:

https://web.archive.org/web/20040103133514/

http://www.grida.no/climate/ipcc_tar/wg1/006.htm

National Oceanic and Atmospheric Administration

(gov) US.Department of Commerce. “Carbon dioxide now more than 50% higher than pre-industrial

levels, 3 June 2022. Available from: https://www.

noaa.gov/news-release/carbon-dioxide-now-morethan-50-higher-than-pre-industrial-levels

U.S. Environment Protection Agency (gov) Causes

of Climate Change: Human Versus Natural Causes.

Available from: https://www.epa.gov/climatechange-

science/causes-climate-change

U.S. Global Change Research Program. Climate Science Special Report. 2017. Available from: https://

science2017.globalchange.gov/

Soden BJ, Held IM. An assessment of climate

feedbacks in coupled ocean–atmosphere models.

Journalof Climate.2005;19(14): 3354–60. Available

from: https://journals.ametsoc.org/view/journals/

clim/19/14/jcli3799.1.xml

BBC News ไทย. สถิติชี้้ ปี2023 ร้้อนที่่สุุดเท่่าที่่เคย

มีการบัันทึก ส่่วนปี2024 มีโอกาสร้้อนยิ่่งขึ้้นอีก. 14

มกราคม 2024. Available from: https://www.bbc.

com/thai/articles/cv2ddn1v49ro

สหประชาชาติ ประเทศไทย สาเหตุุและผลกระทบของ

การเปลี่่ยนแปลงสภาพภููมิิอากาศ 12 มีีนาคม 2022.

Available from: https://thailand.un.org/th/174652

เจณิตตา จัันทวงษา ไทยต้้องสููญเสียอะไรบ้้าง หากการแก้้

ปััญหาโลกรวนยัังไปไม่่ถึงไหน? 13 Dec 2022. Available

from:https://www.the101.world/thailand-climate-policy/

เกรซ. สภาวะโลกร้้อน (GLOBAL WARMING). Availabblefrom:https://gracz.co.th/blog/post/planet-globaal-warming

Supang Chatuchindaเรากำำลัังเผชิญกัับ “การสููญพัันธุ์์

ครั้้งใหญ่่” 22 May 2019. Available from: https://

www.greenpeace.org/thailand/story/6434/biodivversity-mass-extinction/

WHO. Climatechange. 12 October2023. Available

from:https://www.who.int/news-room/fact-sheets/

detail/climate-change-and-health

UNISDR, “Thailand,” PreventionWeb: Basic country statistics and indicators, 2014. Available from:

https://www.preventionweb.net/files/45466_indicatorspaperaugust2015final.pdf

TheWorld Bank Group and the Asian Development

Bank. Climate Risk Country Profile:Thailand;2021.

Availablefrom:https://www.adb.org/sites/default/

files/publication/722251/climate-risk-country-profile-thailand.pdf

สถาบัันวิจััยเศรษฐกิิจป๋๋วย อึ๊๊งภากรณ์์. การลดการปล่่อย

ก๊๊าซเรืือนกระจกและการปรัับตััวต่่อการเปลี่่ยนแปลง

สภาพภููมิิอากาศในบริิบทของไทย. 30 กัันยายน

Available from: https://www.pier.or.th/

abridged/2021/15/

รพีพัฒน์์ อิงคสิทธิ์์. ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในวิกฤติภููมิ

อากาศ? ป่่าสาละ, 1 ตุุลาคม 2021. Available from:

https://salforest.com/blog/thailand-climate-risk

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-05-18

เวอร์ชัน