Coronavirus disease (COVID-19) Pandemic

ผู้แต่ง

  • Sittichai Tantipasawasin Chonburi hospital

คำสำคัญ:

Covid-19, โควิด-19, Pandemic, โรคระบาด

บทคัดย่อ

วันอังคาร ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 (ค.ศ.2019) ประเทศจีนรายงานว่าพบผู้ป่วยปอดอับเสบที่ไม่ทราบสาเหตุเป็นครั้งแรก ในเมืองอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย ทางตอนกลางของจีน

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม รายงานอย่างเป็นทางการว่าโรคปอดอับเสบที่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น มีสาเหตุจากโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ เรียก “ไวรัสอู่ฮั่น” และสามารถแพร่จากคนสู่คนได้

วันเสาร์ ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2563  เริ่มพบผู้ติดเชื้อไวรัสอู่ฮั่น ครั้งแรกในประเทศไทย ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน จำนวน 6 คน

วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ.2563 พบคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อไวรัสอู่ฮั่น  ที่ไม่เคยมีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ

วันพุธ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดชื่ออย่างเป็นทางการของเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ จาก “ไวรัสอู่ฮั่น” เป็น “COVID-19 (โควิด-19)” ซึ่งมาจากการรวมกันของคำว่า corona (โคโรน่า), virus (ไวรัส) และ disease (โรค) รวมเข้ากับปีของการเริ่มต้นการแพร่ระบาด คือปี 2019

 

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศการระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโรค“โควิด-19” เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลก

ไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ หรือโรค“โควิด-19” เป็นไวรัสที่เกิดใหม่ ที่เรียกว่า Emerging virus เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่ารีคอมบิเนชั่น (recombination) ซึ่งเป็นการกลายพันธ์ุแบบหนึ่ง จากไวรัสโคโรนาในสัตว์ข้ามมาติดคนได้ และปรับตัวเข้ากับคนเป็นอย่างดี ทำให้เกิดการระบาดติดต่อ จากคนสู่คนได้โดยง่าย

การศึกษาถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) มีความใกล้เคียงกับไวรัสโคโรนาจาก ค้างคาวมากถึง 96% และยังคล้ายกับไวรัส SARS-CoV มากถึง 80% ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จึงถูกจำแนกว่าเป็นไวรัสใหม่กลุ่มเดียวกับ เบต้าโคโรนาไวรัส เช่นเดียวกับไวรัส SARS-CoV และ MERS-CoV

ไวรัสโคโรนา ติดเชื้อในสัตว์หลายชนิด และในมนุษย์ พบว่าทำให้เกิดท้องเสีย และไข้หวัดธรรมดา จนในปี ค.ศ.2003-2004 พบไวรัสซาร์ (SARS-CoV) แพร่ระบาดจากประเทศจีน ไปยัง 17 ประเทศ ทำให้มีผู้ติดเชื้อ 8,096 คน และเสียชีวิต 774 คน อัตราตาย 9.6% และพบไวรัสเมอร์ (MERS-CoV) แพร่ระบาดในประเทศตะวันออกกลางในปี ค.ศ.2012 และเกาหลีใต้ในปี ค.ศ.2015 ทำให้มีผู้ติดเชื้อ 2,494 คน และเสียชีวิต 858 คน ใน 27 ประเทศ อัตราตาย 34%

ไวรัสโควิด-19 คือภัยคุกคามโลก ประการแรกไวรัสสามารถพรากชีวิตคนสูงวัยที่สุขภาพมีปัญหา ไปจนถึงเด็กที่มีสุขภาพดีได้ มีความเสี่ยงที่ทำให้คนเสียชีวิตประมาณ 1% ประการที่สอง ไวรัสโควิด-19 การแพร่เชื้อมีประสิทธิภาพมาก ติดต่อกันได้ง่าย เชื้อไวรัสแพร่กระจายผ่านการหายใจเอาละออง ที่มีไวรัสจากการไอ จาม จากนำ้มูก จากน้ำลาย หรือสัมผัสเชื้อ สัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุที่มีไวรัสอยู่ แล้วมาสัมผัสจมูก ปาก หรือดวงตาของตนเอง นอกจากนี้ยังพบไวรัสในอุจจาระ ซึ่งอาจแพร่เชื้อได้ เช่นกัน

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส สามารทำได้ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ ใช้เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์ผสม ไม่นำมือมาสัมผัส ตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น ให้หลีกเลี่ยงการ พบปะใกล้ชิด เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Physical distancing) 2 เมตร หรือ 6 ฟุต หลีกเลี่ยงการ ไปอยู่ในที่ชุมชน (Social distancing) หรือห้องปิดที่อาจมีผู้ป่วย ไอ จาม อยู่บ้านและกักตัวเองให้ห่าง จากคนอื่นในบ้านหากรู้สึกไม่สบาย

วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2563 ประเทศไทยประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของ ไวรัสโควิด-19

วันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศ “เคอร์ฟิว” ทั่วประเทศไทย ห้ามประชาชนออกนอกที่พักอาศัย ระหว่าง 22.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความ จำเป็นเช่นเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ หรือขนส่งสินค้าอุปโภค บริโภค

องค์การอนามัยโลกระบุ ระยะการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็น 6 ระยะ หรือ 6 เฟส ดังนี้

 

เฟสที่ 1 คือเฟสที่มีการพบการติดเชื้อในสัตว์ แต่ยังไม่มีการรายงานว่าพบการติดเช้ือในมนุษย์

เฟสที่ 2 พบว่ามีการติดเชื้อในสัตว์ และเริ่มพิจารณาว่าไวรัสนั้นอาจแพร่เชื้อมายังมนุษย์ได้

เฟสที่ 3 พบว่ามีการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน เริ่มมีการแพร่ระบาดการติดเชื้อจากคนสู่คน

ทั้งเฟส 1 ถึง เฟส 3 นี้ถูกประเมินว่าเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนในการแพร่ระบาด (Uncertain) ต้องมีการเตรียมพร้อม และมีแผนรับมือฉุกเฉินสำหรับโรคระบาดนี้

เฟสที่ 4 การระบาดของไวรัสอยู่ในระดับกลางไประดับสูง (Medium to High) มีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนรวดเร็ว มีการจำแนกไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคระบาดได้ ระยะนี้ต้องมีการควบคุมอย่างรวดเร็ว ต้องร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกเพื่อจำกัดการแพร่เชื้อให้อยู่ในอัตราที่ช้าลง

เฟสที่ 5 มีการระบาดของไวรัสในระดับสูง (High to certain) มีการแพร่ระบาดของไวรัส และพบว่ามีอย่างน้อย 2 ประเทศแพร่ระบาดไปยัง 1 ภูมิภาค

เฟสที่ 6 อยู่ในภาวะระบาดใหญ่ (Pandemic in progress)

ทั้งเฟส 5 และเฟส 6  ประเทศต้องมีแผนการรับมือในระดับประเทศ ทั้งสองเฟสนี้ต้องเตรียม พร้อมรับมือ เริ่มเข้าสู่ภาวะอันตราย

Post-Peak Period ระยะนี้คือช่วงที่มีการระบาดไข้หวัดใหญ่ในหลายประเทศ ในอัตราที่ลดลง เป็นช่วงประเมินการตอบสนอง ช่วงฟื้นฟู และช่วงเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่การระบาดที่จะกลับมาอีกครั้ง

Possible New Wave หลังผ่านการระบาดช่วงพีคคือช่วงที่ 5 และช่วงที่ 6 ไปแล้ว ผ่านช่วงหลังของการระบาดระดับสูงสุดไปแล้ว จะเข้าสู่การระบาดอีกครั้งหนึ่ง ช่วงนี้หลายประเทศต้องจับตา เฝ้าระวังการแพร่ระบาดไวรัสอีกครั้ง ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเตรียมรับมือ

Post-Pandemic Period ช่วงนี้ถือเป็นช่วงสุดท้าย คือหลังการกลับมาระบาดของไวรัสอีกครั้ง ระดับของไข้หวัดใหญ่จะเข้าสู่ไข้หวัดตามฤดูกาล ช่วงนี้เป็นช่วงประเมิน และช่วงฟื้นฟู

ย้อนรอยวิกฤติ “โรคระบาด” ป่วนโลก

พ.ศ.2263 โรคกาฬโรค มีผู้เสียชีวิต 190,000 คน

พ.ศ.2363 โรคอหิวาตกโรค มีผู้เสียชีวิต 120,000 คน

พ.ศ.2463 โรคไข้หวัดใหญ่สเปน จากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ H1N1  มีผู้เสียชีวิต 50 ล้านคน อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 2-3%

พ.ศ.2545 ไวรัสซาร์ส (SARS) มีผู้ติดเชื้อ 8,098 คน มีผู้เสียชีวิต 774 คน อัตราการตาย 9.6%

พ.ศ.2552 ไข้หวัดใหญ่ H1N1 มีผู้ติดเชื้อกว่า 130 ประเทศ มีผู้เสียชีวิต 1.5-5.7 แสนคน

พ.ศ.2555 เมอร์ส (MERS) มีผู้ติดเชื้อ 2494 คน มีผู้เสียชีวิต 854 คน อัตราการตาย 34.4%

พ.ศ.2557 อีโบลา มีผู้ติดเชื้อกว่า 10 ประเทศ มีผู้เสียชีวิต 11,000 คน อัตราการตาย 40.4%

พ.ศ.2559 ซิกา มีผู้ติดเชื้อกว่า 90 ประเทศ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ

พ.ศ.2561 อีโบลา รอบใหม่ในคองโก มีผู้ติดเชื้อ 3,905 คน มีผู้เสียชีวิต 2,241 คน

และ โควิด-19 ในปี พ.ศ.2563

ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2563  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก 3,220,225 คน การกระจายของเชื้อครอบคลุม 208 ประเทศ มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อโควิด-19 แล้วทั้งส้ิน 228,223 ศพ อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 7.09

ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวมสะสม 2,954 คน การกระจายของโรคครอบคลุม 68 จังหวัด กระจุกตัวที่ กทม.-นนทบุรี และจังหวัดท่องเที่ยวภาค ตะวันออกและภาคใต้ รวมถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมียอดผู้เสียชีวิตรวม 54 ศพ อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 1.8

บทบาทผู้นำมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างหนัก ในภาวะวิกฤต ผู้นำมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ 2 เรื่องหลักๆ นั้นคือต้องแก้ปัญหาทันที และพยายามป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก นั้นคือต้องรักษาชีวิตผู้คนให้ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องหาทาง รับมือกับไวรัสระบาดด้วย

คนไทยต้องรอด ประเทศไทยต้องชนะ  ด้วยกลยุทธ์

“อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”

บรรณาธิการ

ทพ.สิทธิชัย ตันติภาสวศิน

 

ประวัติผู้แต่ง

Sittichai Tantipasawasin, Chonburi hospital

chairman of oral and maxillofacial surgery department

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-05-07