ชุดเกราะพยุงเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู

ผู้แต่ง

  • พรรธิภา มูลดี กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร
  • ปกาสิต โอวาทกานนท์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร
  • ภครตี ชัยวัฒน์ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศศิธร แสงเรืองรอบ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทีสำคัญ โดยผู้ป่วยมีอาการอัมพาตครึ่งซีกคือแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง อ่อนแรงทำให้ความสามารถในการเดินลดลงเป้าหมายสำคัญผู้ป่วยจะต้องกลับมายืนเดินได้ด้วยตนเองโดยเร็ว การฟื้นฟูปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยฝึกเดินแต่มีข้อจำกัดที่ต้องมีผู้ดูแลใช้คนช่วยควบคุมในช่วง เวลาที่จำกัด และราคาสูงมาก จึงศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกเดินโดยใช้ชุดเกราะพยุงเดินในผู้ป่ วย โรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้ นฟู วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองไม่เกิน 6 เดือนแรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทรายมูล จำนวนทั้งหมด 20 ราย แบ่งเข้ากลุ่ม 2 กลุ่มด้วยวิธีการจับสลาก กลุ่มละ 10 ราย โดยกลุ่มทดลองฝึกเดินด้วยชุดเกราะพยุงเดิน เป็นเวลา 30 นาที ร่วมกับโปรแกรมการฟื้ นฟูทางกายภาพบำบัด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมการฟื้ นฟูทางกายภาพบำบัดอย่างเดียว 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ก่อนและหลังการฝึก เครื่องมือทีใช้เป็นแบบประเมินระดับความสามารถในการเดินโดยแบบทดสอบ Functional ่ Ambulatory Category (FAC) ประเมินการทรงตัวโดยแบบทดสอบ Berg Balance Scale (BBS) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ด้วย Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสามารถของการเดิน (FAC) และการทรงตัว (BBS) มีระดับความสามารถเพิ่มขึ้นหลังผ่านโปรแกรมการฝึกกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐาน FAC เพิ่มขึ้นจากระดับ 0.50 เป็นระดับ 1 และค่ามัธยฐาน BBS จาก เดิม 11.50 คะแนน เพิ่มขึ้นเป็น 43.50 คะแนน จึงสรุปได้ว่า การฝึกผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูด้วยชุดเกราะพยุงเดินร่วมกับโปรแกรมกายภาพบำบัดสามารถเพิ่มระดับความสามารถในการเดิน และการทรงตัวดีขึ้นกว่า โปรแกรมทางกายภาพบำบัดอย่างเดียว

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Stroke Organization: Up again after stroke [Internet]. 2018 [cited 2018 Oct 29]. Available from: https:// www.world_stroke.org/world_stroke_day_campaign/ why_stroke_matters

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก [อินเทอร์- เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ค. 2564 ]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com/document/file/info/ non-communicable-disease/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_61.pdf.

Flick CL. Stroke rehabilitation: stroke outcome and psychosocial consequences. Arch Phys Med Rehabil 1999; 80(5):S21-S26.

นิพนธ์ พวงวรินทร์. โรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2534.

พัชรี คุณค้ำชู. การฝึกเดินในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2555;12(2):370-5.

Pollock A Baer G, Pomeroy V, Langhorne P. Physiotherapy treatment approaches for the recovery or postural control and lower limb function following stroke. Cochrane Database Syst Rev 2003;2:CD001920.

Hesse S, Bertelt C, Jahnke TM. Treadmill training with partial body weight support compared with physiotherapy in nonambulatory hemiparetic patients. Stroke 1995; 26(6):976-81.

Hesse S, Werner C, Bardeleben A, Barbeau H. Body weight support treadmill training after stroke. Curr Atheroscler Rep 2001;3(4):287-94.

Huseman B, Muller F, Krewer C, Heller S, Koenig E. Effects of locomotion training with assistance of a robot-driven gait orthosis in hemiplegic patients after stroke: a randomized controlled pilot study. Stroke 2007; 38(2):349-54.

Dietz V. Body weight supported gait training: from laboratory to clinical setting. Brain Res Bull 2009;78(1): I-VI.

วิษณุ กัมทรทิพย์. การศึกษานำร่องประสิทธิผลของการฝึก เดินด้วยเครื่อง Lokomat® ต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะฟื้นฟู. เวชศาสตร์ฟื้ นฟูสาร 2551;18(3):78-84.

รัตนาพรรธน์ จันทร์อุบล, ภาริส วงศ์แพทย์, นภาพิตร ชวนิย์. การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก จากโรคหลอดสมองระยะกึ่งเฉียบพลันโดยการใช้หุ่นยนต์ ช่วยฝึกเดินเปรียบเทียบกับวิธีกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิม. เวชศาสตร์ฟื้ นฟูสาร 2555;22(2):42-50.

Holden MK, Gill KM, Magliozzi MR, Nathan J, Piehl-Baker L. Clinical gait assessment in the neurologically impaired. reliability and meaningfulness. Phys Ther 1984;64(1):35-40.

Mehrholz J, Wagner K, Rutte K, Meissner D, Pohl M. Predictive validity and responsiveness of the functional ambulation category in hemiparetic patients after stroke. Arch Phys Med Rehabil 2007;88(10):1314-9.

Berg K, Wood-Dauphinee S, Williams JI, Maki B: The Balance Scale: reliability assessment for elderly residents and patients with an acute stroke. Scand J Rehabil Med 1995;27(1):27-36.

Bogle Thorbahn LD, Newton RA. Use of the Berg Balance test to Predict fall in person. Phys Ther 1996;76(6): 576-83.

Riddle DL, Stratford PW. Interpreting validity indexes for diagnostic tests: an illustration using the Berg balance test. Phys Ther 1999;79(10):939-48.

Mayr A, Kofler M, Quirbach E, Matzak H, Frohlich K, Saltuari L. Prospective, blinded, randomized crossover study of gait rehabilitation in stroke patients using the Lokomat gait orthosis. Neurorehabil Neural Repair 2007;21(4):307-14.

Mudge S, Rochester L, Recordon A. The effect of treadmill training on gait, balance and trunk control in a hemiplegic subject: a single system design, Disabil Rehabil 2003; 25(17):1000-7.

Visintin M, Barbeau H, Korner-Bitensky N, Mayo NE. A new approach to retrain gait in stroke patients through body weight support and treadmill stimulation. Stroke 1998; 29(6):1122-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ