Depression with Chronic Diseases at Special Clinic in Si Satchanalai Hospital, Sukhothai Province - ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คลินิกเฉพาะโรค โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Abstract
The committed suicide rate in Si Satchanalai was 10.34 per 100,000 population in 2007. There were 7/10 cases having depression related to chronic diseases and higher than that ofThailandas a whole. The depression and committed suicide rates in Si Satchanalai hospital 2007 was 1.5 and 5.5 times of those reported in 2005. The objectives of this study were to survey to determine rates of depression and attempted suicide among population with chronic diseases at a special clinic during the period December 2007 in Si Satchanalai hospital. This was a descriptive study, employing two question screening for risk assessment of depression in the first step; it was then followed by the depression as listed by the Mental Health Department. Out of the 2,854 patients attending 351 persons were randomly selected. Attending diabetic, hypertention, HIV and tuberculosis clinic, depression problems were reported in 218 cases (69.11%). The highest percentage were in DM 105 screening cases (48.17%), HT 83 cases (38.07%) and HIV 22 cases (10.09%). This study showed that preventive interventions should be launched among high risk group and database of attempted suicide should be integrated with that of chronic disease clinic.
Key words: depression, special clinic, attempted suicide, Changwat Sukhothai province
สถานการณ์การฆ่าตัวตายในอำเภอศรีสัชนาลัย พ.ศ. 2550 มีอัตรา 10.34 ต่อประชากรแสนนคนซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าระดับประเทศ จากการสอบสวนในกลุ่มญาติผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จพบว่า 7 ใน 10 รายมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย เนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง นอกจากนี้สถิติการเฝ้าระวัง พบผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย พ.ศ. 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 และ 5.5 เท่าของ พ.ศ. 2548 อัตราป่วยที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงความรุนแรงของปัญหาสุขภาพจิตในพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก และกลุ่มอายุของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในคลินิกเฉพาะโรคทั้ง 4 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ความดันโลหิตสูง และวัณโรค ที่มารับบริการโรงพยาบาลศรีสันาลัย จังหวัดสุโขทัย ในเดือนธันวาคม 2550 มีจำนวนผู้ป่วยที่เป็นประชากรทั้งหมด 2,854 คน การคำนวณด้วยวิธียามาเน่ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงจำนวน 351 คน ดำเนินการคัดกรองเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคัดกรองด้วยแบบคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าในผู้รับบริการคลินิกโรคเรื้อรังด้วยแบบสอบถามเพื่อคัดกรองด้วย two question เมื่อพบว่ามีคำตอบที่แสดงถึงแนวโน้มของภาวะซึมเศร้าจึงดำเนินการประเมินต่อในขั้นตอนที่ 2 คือประเมินด้วยแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีภาวะซึมเศร้า 218 คนคิดเป็นร้อยละ 62.11 โดยเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานมากเป็นอันดับหนึ่ง 105 คน (ร้อยละ 48.17) รองลงมาเป็นโรคความดันโลหิตสูง 83 คน (ร้อยละ 38.07) และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง 22 คน (ร้อยละ 10.05) ดังนั้น จึงได้จัดระบบเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการป้องกันส่งเสริม รักษาในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาและกลุ่มเสี่ยงได้ อีกทั้งยังเป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย โดยการบูรณาร่วมกับคลินิกโรคเรื้อรัง เป็นการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายได้อีกทางหนึ่ง
คำสำคัญ: ภาวะซึมเศร้า, ภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, โรคเรื้อรัง, จังหวัดสุโขทัย