Health Survey in Suphan Buri Province 2007 - การสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชนกลุ่มอายุ 15-59 ปี จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2550
Abstract
The purposes of this survey research were to study health status of the population in Suphan Buri in a situation analysis, as such, evaluation of health promotion programs become possible. Data collected by interviewing 1,200 study samples in 15-59 year age group selected by multi-stage random sampling with unequal probability (probability proportional to size) including 60 clusters. Descriptive statistics were used for data analysis.
The health survey identified high risks of the 15-59 year age group relative to older age groups, in terms of obesity, being physically inactive, limited to less than 3 days a week or no exercise at all. As a result, 67.3 percent of the physically inactive were classified as limited or no exercise. Repeatedly, 40.7 percent of the male subjects were regular smokers and 12.8 percent regular drinker. Such indulgence was reported in only 1.5 percent of the female subjects. Screening for hypertension might relatively yield the best coverage as 67.2 percent of the subjects received the service while 43.4 and 21.7 percent had such services for diabetic mellitus and serum cholesterol. Among the female, 55.5 percent had experiences on self examination of breast cancer, 29.0 percent were examined by health workers and 70 percent had undergone screening for cervical cancer. High level of stress was reported in 2 percent of the samples. In addition, 98.8 percent of them were eligible to the UC benefit and satisfied with services of health centers than those of designated hospitals. Change of health behaviors focusing on nutrition and exercise should become crucial part of the strategic plan on health promotion in Suphan Buri. Youths should be considered the target as well as a mechanism in promotion campaigns. On the other hand, males roles on community health promotion should also be strengthened.
Key words: Survey, Health situation
การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวการณ์ด้านสุขภาพของประชาชนในระดับจังหวัด และใช้เป็นข้อมูลในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่ ด้วยการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มอายุ 15-59 ปี จำนวน 1,200 คน ที่ได้มาจากการสุ่มด้วยวิธี multi-stage cluster sampling with unequal probability (probability proportional to size) จำนวน 60 clusters รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา กาสำรวจพบว่าประชากรอายุ 15-29 ปี มีการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อภาวะอ้วน ใช้แรงน้อยในการทำงาน และไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายแต่น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์เป็นสัดส่วนมากกว่าประชาชนกลุ่มอายุที่สูงกว่า โดยร้อยละ67.3 ของกลุ่มที่ใช้แรงน้อยในการทำงานไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายแต่ไม่เพียงพอ ร้อยละ 40.7 และร้อยละ12.8 ของเพศชายเป็นผู้สูบบุหรี่และดื่มสุราเป็นประจำ เพศหญิงพบพฤติกรรมดังกล่าวเพียงร้อยละ1.5 ในภาพรวมของทุกอายุได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ร้อยละ67.2 รองลงมาคือ โรคเบาหวาน ร้อยละ43.4 และโรคไขมันในหลอดเลือด ร้อยละ21.7 ตามลำดับ ในเพศหญิงพบว่า ร้อยละ 55.5 ตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ29.0 เคยได้รับการตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่ าธารณสุข ร้อยละ70 เคยตรวจหามะเร็งปากมดลูก ประชากรอายุ15-59 ปี ที่มีความเครียดในระดับมาก มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ร้อยละ 98.8 ของประชากรกลุ่มตัวอย่างมีสิทธิในระบบประกันสุขภาพและมีระดับความพึงพอใจต่อบริการของสถานีอนามัยสูงกว่าบริการของโรงพยาบาล (สถานพยาบาลที่ระบุในบัตรประกันสุขภาพ) ทิศทางการวางแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของจังหวัดสุพรรณบุรี ควรให้ความสำคัญในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม ครอบคลุมไปถึงทัศนะการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย โดยมุ่งเน้นให้กลุ่มเยาวชนเป็นกลไกสำคัญในการรณรงค์ในขณะเดียวกันควรส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ชายมีบทบาทมากขึ้นในการการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน
คำสำคัญ: การสำรวจ, สภาวะสุขภาพ