Reuse of ELISA Wells for HIV Antibody Testing-การนำหลุมสำหรับตรวจหาแอนตี้บอดีย์สำหรับเชื้อไวรัสเอดส์ด้วยวิธี ELISA มาใช้ใหม่
Keywords:
-Abstract
ELISA testing for HIV antibody has been accepted as a standard method. For each test kit, it is commonly found that some reagents are left while all wells are used up. From March through July 1994, Chiangrai Regional Hospital which is located in one of the epicenters of the HI V/AIDS epidemic and uses the testing extensively conducted this study to determine feasibility of reuse of the wells which were exposed to HIV-negative sera. 288 wells were collected, rinsed with buffer solution, dried with tissue paper and refrigerated. The old wells were used for testing for anti-H I V antibody in comparison with the new ones (duplicate testing). Sera used in this study were randomly selected from the ones sent to the serology laboratory of the hospital. The prevalence of anti-HIV-positive was 15.2% with sensitivity, specificity, positive predictive value, and negative predictive value of 97.6%, 99.6%, 97.6% and 99.6% respectively. The reliability of the old wells as compared to the new ones as measured by kappa statistic was 97.3%. About two—thirds of the OD:cut-off ratios of the old wells were within 20% of those of the new ones. Although false positive and false negative rates were small, their clinical importance was immense. Therefore, reuse of ELISA wells should be limited only to estimation of HIV seroprevalence of high-risk groups where blood is tested in an unlinked and anonymous fashion and will not be used for transfusion, and to repeat testing of previously ELISA-tested HIV-positive sera.
การตรวจหาแอนตี้บอดีย์ต่อเชื้อเอดส์ด้วยวิธี ELISA ถือได้ว่าเป็นวิธีมาตรฐานวิธีหนึ่ง และมักจะพบว่า มีน้ำยาเหลือในการตรวจแต่ละ test kit ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 2537 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์จึงได้ทำการทดลองนำหลุมเก่าที่ใช้แล้วที่ไม่มีตัวอย่างตรวจใดให้ผลบวกมาใช้ใหม่โดยเก็บได้จำนวน 288 หลุม หลังจากล้างด้วยบัฟเฟอร์และซับให้แห้งแล้วจะนำมาแช่ตู้เย็นไว้เพื่อนำมาใช้ตรวจแบบ duplicate testing เทียบกับหลุมใหม่โดยเลือกน้ำเหลืองที่ส่งมาตรวจที่ห้อง serology มาตรวจโดยสุ่ม
จากการตรวจจำนวนทั้งสิ้น 269 รายพบว่า ค่าความชุกของ anti-HIV-positive เท่ากับร้อยละ 15.2 โดยมีค่าความไว ความจำเพาะ, positive predictive value และ negative predictive value เท่ากับร้อยละ 97.6, 99.6, 97.6 และ 99.6 ตามลำดับ และมีค่าสถิติ kappa เท่ากับร้อยละ 97.3 ประมาณสองในสามของค่า OD:cut-off ratio ของการตรวจด้วยหลุมเก่าจะอยู่ภายในร้อยละ 20 ของค่าของหลุมใหม่ ถึงแม้ว่าร้อยละของ false positive และ false negative จะน้อย แต่มีความสำคัญมากทางคลีนิก ฉะนั้นการนำหลุมเก่ามาใช้ควรจะจำกัดเฉพาะในการตรวจที่ไม่สามารถเชื่อมโยงผลเลือดกับผู้มาตรวจได้ และเลือดที่ผ่านการตรวจนั้นไม่ได้ถูกนำไปให้ผู้ป่วย เช่น ในการประมาณค่าความชุกของการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มเสี่ยง หรือเฉพาะในการตรวจซ้ำเลือดที่ให้ผลบวกด้วยการตรวจด้วยวิธี ELISA มาแล้วครั้งหนึ่ง