Incidence of Rotavirus Diarrhea in Children Admitted to Nakornping Hospital-อุบัติการณ์ของโรคอุจจาระร่วงไวรัสโรตาในเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพิงค์
Keywords:
-Abstract
143 children under 5 years of age who were admitted to Nakomping Hospital over a twelve month period from June 1993 to May 1994 for diarrhea were included in this study. They were clinically evaluated, their histories taken and collected stool for examination by PAGE method. It was found that the incidence of rotavirus diarrhea was 31.5 percent.
In this study the clinical features of rotavirus diarrhea included watery diarrhea, fever and vomiting, and the highest incidence was in children under 2 years of age as well as the peak seasonal distribution was in winter. There was no statistically significant difference of rotavirus infection between the children dwelling in the better santitary area, as some city or town, and the ones dwelling in the rural area. During the efficacious rotavirus vaccine have not succeeded producting yet, the alternative measure to reduce the incidence of rotavirus infection in children would be convincing and supporting mothers the family health.
ได้ทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระจากเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 143 คน ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยอาการโรคอุจจาระร่วง ในช่วงเดือนมิถุนายน 2536 ถึงเดือนพฤษภาคม 2537 และนำตัวอย่างที่ได้ส่งสถาบันวิจัยไวรัส กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้ระบบลูกโซ่ความเย็น เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยภาวะติดเชื้อไวรัสโรตา โดยวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการไวรัสที่เรียกว่า PAGE พบว่า 45 ราย ให้ผลบวก คิดเป็นอัตราอุบัติการณ์ร้อยละ 31.5
ลักษณะอาการทางคลินิกของโรคอุจจาระร่วงไวรัสโรตาในเด็กที่สำคัญ ได้แก่ อุจจาระเป็นน้ำ ไข้ และอาเจียน พบอุบัติการณ์ของโรคสูงในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือต้นเดือนมีนาคม ในเด็กอายุ 0-2 ปี และมีอัตราส่วนเด็กชายต่อเด็กหญิงเป็น 2.5:1
สถานภาพของอนามัยชุมชน ยังเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป โดยการศึกษาครั้งนี้พบว่าเด็กที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล/สุขาภิบาล มีโอกาสป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงไวรัสโรตาไม่แตกต่างจากเด็กที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล/สุขาภิบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ทางเลือกที่จะลดอุบัติการณ์ของโรคนี้ทางหนึ่งก็คือการพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง มาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรค แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่ประสบผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องเน้นไปที่การอนามัยแม่และเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมารดาที่เลี้ยงดูบุตรต้องได้รับการชี้นำอย่างเข้มงวดในเรื่องความสะอาดในการจัดหาอาหารและน้ำดื่มสำหรับเด็ก ตลอดจนการกำจัดสิ่งปฏิกูลภายในครอบครัวอย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นกลวิธีที่ช่วยให้อุบัติการณ์ของโรคอุจจาระร่วงไวรัสโรตาในเด็กลดลงได้อีกทางหนึ่ง