การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดบริการ โรงพยาบาลบ้านตากด้วยโปรแกรม Hospital Os: กรณีศึกษาที่จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, บริการสุขภาพโรงพยาบาล, โปรแกรม Hospital-Os, ประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) เพื่อศึกษารูปแบบ แนวทางที่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้โปรเเกรม ผลดีและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำโปรแกรม Hospital-Os ไปประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลบ้านตาก เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการสารสนเทศและเวชระเบียนแบบไม่เป็นทางการ 15 คน สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมจากเจ้าหน้าที่จำนวน 100 คน ผู้มารับบริการ จำนวน 30 คน ร่วมกับการศึกษาเอกสารใน 4 ขั้นตอนคือ วิเคราะห์สถานการณ์ วางแผน ดำเนินการ และประเมินผล ช่วงพ.ศ. 2544-2550 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การนำโปรแกรมลงไปปรับใช้มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เป็นระยะเวลานาน ไม่เร่งรีบทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความยอมรับ มีความพร้อมในการใช้งาน ทำไปปรับไป เรียนรู้และปรับใช้ไป เรื่อย ๆ ผลดีที่เกิดจากการนำโปรแกรมไปใช้ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้รวดเร็วขึ้น มีเวลาทำงานมากขึ้น การประสานข้อมูลระหว่างแผนกดีขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจ ลดความซ้ำซ้อนและความผิดพลาดของข้อมูล คุณภาพบริการดีขึ้น ผู้มารับบริการพึงพอใจมากขึ้น การสรุปข้อมูลมาประกอบการจัดทำแผนงานรวดเร็วและทันเวลามากขึ้น ในขณะนี้ปัญหาอุปสรรคในด้านโปรแกรมที่ยังตอบสนองงานในบางส่วนไม่ได้ ความรู้ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมยังมีจํากัด และการจัดทำรายงานบางส่วนยังทำไม่ได้ ซึ่งยังต้องการ การพัฒนาและปรับปรุงโปรแกรมให้เหมาะสมกับระบบงานมากขึ้น พร้อมทั้งมีการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประสิทธิผลต่อความคุ้มทุนในระยะต่อไป หน่วยงานอื่น ๆ สามารถนำแนวทางของโรงพยาบาลบ้านตากไปประยุกต์ใช้ได้ภายใต้การศึกษาและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลและคำนึงถึงปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ 7 ประการคือภาวะผู้นำ ความมุ่งมั่นของทีมงาน ความเข้าใจและความร่วมมือของหัวหน้าและผู้ปฏิบัติงาน ความร่วมมือของแพทย์ การมีที่ปรึกษาที่พร้อมให้ความช่วยเหลือขณะใช้งาน การปรับปรุงเก้ไขโปรแกรมให้สอดคล้องกับงานและการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรม
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.