การเปรียบเทียบผลการตอบสนองของระบบหัวใจและ หายใจต่อการเดินระยะเวลา 6 นาที ในรูปแบบสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และเส้นตรงในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สลิลา เศรษฐไกรกุล สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • รุชดา ศรีอาหมัด สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • วีรพงษ์ ภู่ดอก สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ศิยามล ศิริสำราญ สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ณัฐนิชา ยูโซ๊ะ สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • อานีสา หะหยียูโซ๊ะ สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • อโนมา สันติวรกุล สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • วรรณิศา คุ้มบ้าน สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บทคัดย่อ

การทดสอบการเดิน 6 นาที (6-minute walk test) เป็นการทดสอบสมรรถภาพทางระบบหัวใจและหายใจที่ นิยมใช้ในผู้สูงอายุ เนื่องจากสามารถทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายน้อยแต่ข้อจำกัด คือ ต้องใช้ระยะทางเส้นตรงยาว 30 เมตรในการทดสอบ แต่บางสถานที่มีพื้นที่ที่จำกัด ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดิน จากเส้นตรงเป็น รูปแบบสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ การวิจัยนี้เปรียบเทียบระยะทางการเดินจากการทดสอบ 6-minute walk test และการตอบสนองของระบบหัวใจและหายใจระหว่างการเดินในรูปแบบสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และเส้นตรง ในผู้สูงอายุจำนวน 27 คน ที่มีอายุ 68.89±5.98 ปี โดยผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนได้รับการประเมินการ ทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และจะทดสอบการเดิน 6-minute walk test 3 รูปแบบ คือ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และเส้นตรงโดยผู้วิจัยจะบันทึกระยะทางที่เดินได้ และการตอบสนองของระบบหายใจและระบบหัวใจ การวิจัยนี้พบว่า ผลของระยะทางจากการทดสอบ 6-minute walk test และการตอบสนองของระบบหัวใจและหายใจ ในรูปแบบการเดิน ทั้งสามรูปแบบในผู้สูงอายุไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.06) ดังนั้นจึงสามารถนำรูปแบบการเดิน แบบสี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมไปประยุกต์ใช้ในการทดสอบกรณีที่มีพื้นที่อยู่อย่างจำกัด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-06

วิธีการอ้างอิง