การป้องกันโควิด-19 ในมุมมองด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • นุชนาถ แช่มช้อย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อาภาภรณ์ บุลสถาพร คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ไชยยศ บุญญากิจ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เชื้อไวรัสโคโรนา, โรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ, อนามัยสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เป็นเชื้อที่ทำอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ และสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ โดยการป้องกันการติดและแพร่ระบาดของเชื้อตามหลักการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) การสุขาภิบาลและความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะหลักสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร ความสะอาดของอาหารและสถานที่ปรุง-จำหน่ายอาหาร (2) การสุขาภิบาลตลาด มุ่งเน้นที่การจัดการภายในตลาด (3) การจัดการขยะ และ (4) การสุขาภิบาล-อาคารและสถานประกอบการ โดยเฉพาะการระบายอากาศ ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้ สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมตามประเภทของสถานที่สาธารณะ ที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ร้านอาหาร ตลาด และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยจากการวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อในประเทศไทย พบว่า ยังคงประสบปัญหาในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ดังนั้น โมเดลการป้องกันด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงเป็นส่วนที่จะช่วยสอดรับกับมาตรการทางการสาธารณสุขได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย การสร้างความตระหนักด้านสุขวิทยาส่วนบุคคลให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ การจัดการขยะที่เป็นผลจากการใช้สารเคมีทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ใช้แล้ว การปรับปรุงการระบายอากาศในอาคารประเภทต่างๆ รวมทั้งการกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐในด้านการสุขาภิบาลตลาด การสุขาภิบาลและความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งหากองค์ประกอบเหล่านี้ได้รับการปรับปรุงและพัฒนา จะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-06

วิธีการอ้างอิง