การถอดบทเรียนการดำเนินการระดมสรรพกำลังในสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในเขตสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • สุวิมล พนาวัฒนกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นันทรัตน์ ศรีวชิรางกูร กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • อภิญญา เพียรพิจารณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การระบาดโรคโควิด-19, การระดมสรรพกำลัง, ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, เขตสุขภาพ

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก่อให้เกิดภาวะวิกฤตของระบบการดูแลสุขภาพทั้งในสถานพยาบาลของรัฐและ เอกชน อีกทั้งยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าการระบาดดังกล่าวจะสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียน การระดมสรรพกำลังด้านสุขภาพในสถานการณ์การระบาดโรคโควิด 19 โดยใช้กรอบแนวคิดการระดมสรรพกำลังใน ภาวะฉุกเฉิน 4’S ที่เสนอแนะโดยศูนย์ควบคุมป้ องกันโรคสหรัฐอเมริกา คือ ด้านพื้นที่ (Space) บุคลากร (Staff) อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ (Supply) และระบบการบริหารจัดการ (System) โดยมีการดำเนินการเป็น 3 ระยะคือ ระยะ เตรียมความพร้อม ระยะเผชิญการระบาด และระยะการจัดการเพื่อกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แล้วพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายการระดมสรรพกำลังเมื่อมีสถานการณ์การระบาด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการ สนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 14 คน จากโรงพยาบาลหลักในเขตสุขภาพที่ 2, 5 และ 12 โดยคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแนวคำถามการสนทนากลุ่มแบบมีโครงสร้าง และใช้ กระบวนการถอดบทเรียนที่ประยุกต์มาจาก a Guide to Capturing Lessons Learned วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา และตีความ ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาล 3 แห่งใน 3 เขตสุขภาพ มีการดำเนินงานการระดมสรรพกำลัง 4’S ดังนี้ (1) ระยะเตรียมความพร้อม โรงพยาบาลหลักในเขตสุขภาพทั้ง 3 เขต ได้ activate ระบบศูนย์ปฏิบัติการ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (EOC) ของจังหวัด และประยุกต์ใช้แผนอุบัติภัยทีมีอยู่แล้วในทุกแห่ง ทั้ง 3 แห่ง ่ ไม่มีพื้นที่และกำลังคนสำรอง ต้องใช้วิธีลดบริการอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นลง และเตรียมการสำรองอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ (2) ระยะเผชิญการระบาด โรงพยาบาลหลักมีการจัดเตรียมพื้นที่ในโรงพยาบาล การเตรียมโรงพยาบาลสนาม การ จัดเวรผลัด การจัดทีม การเตรียมบุคลากร การกักกันผู้ติดเชื้อ การฝึกอบรมบุคลากร การจัดหาจัดเก็บ การกระจาย อุปกรณ์ การประสานงาน การอำนวยการ และการจัดการความรู้โรคอุบัติใหม่ (3) ระยะการจัดการเพื่อกลับเข้าสู่ ภาวะปกติ โรงพยาบาลหลักในเขตสุขภาพทั้ง 3 เขต มีการเตรียมการและดำเนินการเพื่อกลับเข้าสู่ระบบการดูแล ก่อนเกิดเหตุ มีการเตรียมการเพื่อรองรับผู้ป่ วยที่ถูกเลื่อนนัดหมายหรือผู้ป่ วยที่ได้จำหน่ายเร็วกว่ากำหนด รวมทั้ง แผนสำรองและแผนประคองกิจการ มีการสร้างเครือข่ายกับภาคเอกชน การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุม โรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/ files/2017420210820025238.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อ การจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด 19 ในข้อกำหนดออก ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาร ราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 พ.ค. 2564]. แหล่ง ข้อมูล https://ddc.moph.go.th /viralpneumonia /file/g_ other/g_other02.pdf

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc. moph.go.th/uploads/publish/11509202106100 33910.pdf

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดระบบ บริการของโรงพยาบาล กรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในวงกว้าง (ร่าง). [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 20 มิ.ย. 2564]; 1-5. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ file/g_health_care/G33_2.pdf

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Public health emergency preparedness and response capabilities [Internet]. 2019. [cited 2019 Dec 7]. Available from: https://ainq.com/disaster-and-emergency-preparedness-guide-ga/?gclid=CjwKCAjw0a-SBhBkEiwApljU0gEYnlqtznpBDppGFwUaDtVBzZoJpH0UPxY1lP1_WGFGiLYFk2f1BRoC-t4QAvD_BwE

Wexner SD, Cortes-Guiral D, Darzi A. Lessons learned and experiences shared from the front lines: United Kingdom. Am Surg 2020;86(6):585-90.

Knebel A, editor. Medical surge capacity and capability: a management system for integrating medical and health resources during large-scale emergencie. 2nd ed. Washington DC: CAN Corporation Institute for Public Research; 2007.

Litton E, Bucci T, Chavan S. Ho YY, Holley A, Howard G, et al. Surge capacity of intensive care units in case of acute increase in demand caused by COVID-19 in Australia. 2020. Med J Aust 2020;212(10):463-7.

Burns H, Hamer B, Bissell A. COVID-19: implications for the Australian healthcare workforce [Internet]. 2020 [cited 2021 Dec 17]. Available from: https://www.pwc. com.au/important-problems/coronavirus-covid-19/ australian-healthcareworkforce.html

World Health Organization Regional Office for Europe. Strengthening the health systems response to COVID-19: creating surge capacity for acute and intensive care. 2020. Copenhagen: World Health Organization Regional Office for Europe; 2020.

Burns H, Hamer B, Bissell A. COVID-19: implications for the Australian healthcare workforce [Internet]. 2020. [cited 2021 Sep 10]. Available from: https://www.pwc. com.au/important-problems/coronavirus-covid-19/ australian-healthcareworkforce.html

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ