คุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในชุมชนของผู้พิการจากโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พิศักดิ์ ชินชัย ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศิริพันธุ์ คงสวัสดิ์ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุรพงค์ กาบวัง องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
  • นิรันดร์ จันทร์ชัย องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

อัมพาตครึ่งซีก, คุณภาพชีวิต, การมีส่วนร่วมในชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การฟื้นฟูสมรรถภาพ

บทคัดย่อ

ผู้พิการจากโรคหลอดเลือดสมองมีจำนวนเพิ่มขึ้นในประเทศไทย ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้มักมีความพิการตกค้าง ที่เด่นชัด ได้แก่ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้มีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวัน การมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี และ มีความยากลำบากเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน การฟื้ นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนเป็นวิธีหนึ่งในการบำบัดรักษาผู้พิการ ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่มีผู้พิการจำนวนมากในชุมชน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในชุมชนของผู้พิการจากโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการที่ศูนย์ ฟื้ นฟูสมรรถภาพในชุมชนแห่งนี้ ซึ่งให้บริการโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทีได้รับการฝึกอบรมแล้ว ก่อนและ ่ หลังได้รับบริการ 8 สัปดาห์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้พิการได้จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย และ (2) แบบประเมินการมีส่วนร่วมในชุมชน สถิติทีใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon signed ranks test ผลการศึกษาพบว่า หลังได้รับบริการฟื้ นฟูสมรรถภาพ ่ กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวม และคุณภาพชีวิตด้านสภาพร่างกาย และด้านสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) และมีคะแนนการมีส่วนร่วมในชุมชนโดยรวม และด้านการมีบทบาทในงานบ้านดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แสดงให้เห็นว่า การจัดตั้งศูนย์ฟื้ นฟูสมรรถภาพในชุมชน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นผู้ให้บริการ ช่วยส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและการมีส่วนร่วมกิจกรรมใน ชุมชนของผู้พิการจากโรคหลอดเลือดสมอง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs: เบาหวาน ความดัน โลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กลุ่มเทคโนโลยีระบาดวิทยาและมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ: จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน ปี 2559 - 2561 (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง COPD) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 29 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www. thaincd.com/2016/mission/documents-detail. php?id=13684&tid=32&gid=1-020

Kuptniratsaikul V, Kovindha A, Dajpratham P, Piravej K. Main outcomes of stroke rehabilitation: a multi-centre study in Thailand. J Rehabil Med 2009;41(1):54-8.

Kuptniratsaikul V, Kovindha A, Massakulpan P, Piravej K, Suethanapornkul S, Dajpratham P, et al. An epidemiologic study of the Thai Stroke Rehabilitation Registry (TSRR): a multi-center study. J Med Assoc Thai 2008;91(2):225-33.

อภิชนา โฆวินทะ, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล, ปิยะภัทร เดชพระธรรม, พรพิมล มาศสกุลพรรณ, กฤษณา พิรเวช, ยิ่งสุมาลย์ อาจองค์, และคณะ. โครงการทะเบียนโรคการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2550;17(1):31-6.

Abdul-Rahim AH, Quinn TJ, Alder S, Clark AB, Musgrave SD, Langhorn P, et al. Derivation and validation of a novel prognostic scale (modified-stroke subtype), Oxfordshire Community Stroke Project classification, age, and prestroke modified Rankin) to predict early mortality in acute stroke. Stroke 2016;47(1):74-9.

Bernhardt J, Hayward KS, Kwakkel G, Ward NS, Wolf SL, Borschmann K, et al. Agreed definitions and a shared vision for new standards in stroke recovery research: the stroke recovery and rehabilitation roundtable taskforce. Int J Stroke 2017;12(5):444–50.

ทศพร บรรยมาก. กิจกรรมบำบัดในโรคหลอดเลือดสมอง. ใน: พิศักดิ์ ชินชัย, ทศพร บรรยมาก, บรรณาธิการ. กิจกรรม บำบัดสำหรับผู้มีปัญหาด้านระบบประสาท พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ออเร้นท์กรุ๊ป เทคนิคดีไซด์; 2551. หน้า 122– 43.

Dedhiya S, Kong SX. Quality of life: an overview of the concept and measures. Pharm World Sci 1995;17:141– 8.

Hopman WM, Verner J. Quality of life during and after inpatient stroke rehabilitation. Stroke 2003;34:801–5.

Petterson R, Dahl T, Wyller TB. Prediction of long-term functional outcome after stroke rehabilitation. Clin Rehabil 2002;16:149–59.

Schindel D, Schneider A, Grittner U, Jöbges M, Schenk L. Quality of life after stroke rehabilitation discharge: a 12-month longitudinal study. Disabil Rehabil 2021; 43(6):1 10.

Thanakiatpinyo T, Dajpratham P, Kovindha A, Kuptniratsaikul V. Quality of life of stroke patients at one year after discharge from inpatient rehabilitation: a multicenter study. Siriraj Med J 2021;73(4):216–23.

Laurent K, De Sèze MP, Delleci C, Koleck M, Dehail P, Orgogozo J-M, et al. Assessment of quality of life in stroke patients with hemiplegia. Ann Phys Rehabil Med 2011;54:376–90.

Mayo NE, Wood-Dauphinee S, Cote R, Durcam L, Carlton J. Activity, participation and quality of life 6 months poststroke. Arch Phys Med Rehabil 2002; 83:1035–42.

Huebner RA, Johnson K, Bennett CM, Schneck C. Community participation and quality of life outcome after adult traumatic brain injury. Am J Occup Ther 2003;57:177– 85.

Noreau L, Desrosiers J, Robichaud L, Fougeyrollas P, Rochette A, Viscogliosi C. Measuring social participation: reliability of the LIFE-H in older adults with disabilities. Disabil Rehabil 2004;26:346–52.

Chinchai P, Marquis R, Passmore A. Functional performance, depression, anxiety and stress in people with spinal cord injuries in Thailand: a transition from hospital to home. Asia Pac Disabil Rehabil J 2003;14(1):30– 40.

Hale LA. Community-based or home-based stroke rehabilitation: confusion or common sense. NZ J Physiother 2004;32 (3):131–9.

Walker M, Galdman J, Lincoln N, Siemonsma P, Whiteley T. Occupational therapy for stroke patients not admitted to hospital: a randomised controlled trial. The Lancet 1999;354:278–80.

Oupra R, Griffiths R, Pryo J. Effect of a community based rehabilitation program on outcomes for stroke survivors in Thailand. J Health Sci 2008;2(2):1–7.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124, ตอนที่ 61 ก (ลงวันที่ 27 กันยายน 2550).

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วีระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, ราณี พรมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2541.

Chinchai P, Bunyamark T, Sirisatayawong P. Effects of caregiver education in stroke rehabilitation on the quality of life of stroke survivors. World Fed Occup Ther Bull 2010;61:56–63.

พิศักดิ์ ชินชัย, ทศพร บรรยมาก. โปรแกรมการให้ความรู้ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการใน ชุมชนให้กับผู้ดูแล กับคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมใน ชุมชนของผู้พิการจากโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตจังหวัด เชียงใหม่: รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

Willer B, Linn R, Allen K. Community integration and barriers to integration for individuals with brain injury. In: Finlayson MA, Garner SH, editors. Brain injury rehabilitation: clinical considerations. Baltimore: Williams & Wilkins; 1993. p. 355–75.

สาวิตรี ธรรมสอน. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับการ มีส่วนร่วมในชุมชนของผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง [ภาคนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขากิจกรรม บำบัด]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

Haghgoo HA, Pazuki ES, Hosseini AS, Rassafiani M. Depression, activities of daily living and quality of life in patients with stroke. J Neurol Sci 2013;328:87–91.

Kim K, Kim YM, Kim EK. Correlation between the activities of daily living of stroke patients in a community setting and their quality of life. J Phys Ther Sci 2014; 26(3):417–9.

Michele B, Etienne LB, Kenora C, Nearkasen C. Associations between quality of life and socioeconomic factors, functional impairments and dissatisfaction with received information and home-care services among survivors living at home two years after stroke onset. BMC Neurol 2014;14:1–12.

Hartman-Maeir A, Eliad Y, Kizoni R, Nahaloni I, Kelberman H, Katz M. Evaluation of a long-term community based rehabilitation program for adult stroke survivors. NeuroRehabilitation 2007;22:295–301.

พิศักดิ์ ชินชัย, ทศพร บรรยมาก. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ ในชุมชนให้กับผู้ดูแลต่อการมีส่วนร่วมในชุมชนของผู้พิการ จากโรคหลอดเลือดสมองในเขตจังหวัดเชียงใหม่. วารสารกิจกรรมบำบัด 2551;13(3):1–9.

Chinchai P, Sirisatayawong P, Jindakum N. Community integration and quality of life: stroke survivors as recipients of rehabilitation by village health volunteers (VHVs) in Thailand. Occup Ther Health Care 2020;34(3):277– 90.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ