คุณภาพชีวิตของผู้เสพติดฝิ่นหลังเข้ารับการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพที่ศูนย์ลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด: กรณีศึกษาโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้เสพติดฝิ่น, การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้เสพติดฝิ่น จำแนกตามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลภายหลังเข้ารับบริการการบำบัดรักษาและฟื้ นฟูสมรรถภาพที่ศูนย์ลดอันตราย จากการใช้ยาเสพติดตามโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้เสพติดฝิ่นที่เข้ารับบริการทางสุขภาพที่ศูนย์ลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไชยปราการ อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอแม่แตง อำเภออมก๋อย และอำเภอแม่ระมาด จำนวนรวม 565 คน โดยใช้วิธี การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้เสพติดฝิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า (1) คุณภาพชีวิตของผู้เสพติด ฝิ่นหลังเข้ารับบริการบำบัดรักษาและฟื้ นฟูสมรรถภาพที่ศูนย์ลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดทั้ง 6 อำเภอพบว่า โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.65) โดยด้านความผาสุกในชีวิต ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านสังคม และด้าน ร่างกายอยู่ในระดับมากเช่นกัน (ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.68 – 3.83) ส่วนด้านอาชีพและรายได้พบว่าอยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=3.21) และ (2) ผู้เสพติดฝิ่นที่มีเพศ อาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่เข้ารับบริการที่ศูนย์ลด อันตรายจากการใช้ยาเสพติดต่างกันมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. แผนแม่บทโครงการขยาย ผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่ นอย่างยั่งยืน ระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2553-2556). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง; 2553.
เยาวเรศว์ นาคะโยธินสกุล, สำเนา นิลบรรพ์, สุกุมา แสงเดือนฉาย, นันธณา อินทรพรหม, ศศิธร คุณธรรม, ลัดดา ขอบทอง, และคณะ. การพัฒนารูปแบบการบำบัดและฟื้นฟู สมรรถภาพผู้เสพติดฝิ่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนใน พื้นที่: กรณีศึกษาโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ ปัญหาพื้นทีปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
สลินดา แววสูงเนิน, ธัญญรัตน์ ขจัดพาล. การรับรู้ต่อการ บำบัดรักษาของผู้ป่วยชาวเขาทีเสพติดฝิ่น (รายงานการวิจัย). แม่ฮ่องสอน: ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดจังหวัดแม่ฮ่องสอน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2544.
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้ นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชนนี โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน. รายงานสรุปผลการดำเนินงานและถอด บทเรียนการพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดฝิ่นบนพื้นที่ สูงภายใต้โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนประจำปี 2558. ปทุมธานี: โรงพิมพ์- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด. คำสั่งศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติที่ 1/2557 ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เรื่องแนวทางการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (harm reduction) ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีการฉีด. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพ; 2558.
สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์. แนวทางการลดอันตราย จากการใช้ ยาเสพติดแบบรอบด้านของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.
Harm Reduction International. What is harm reduction. [Internet]. [cite 2023 Jan 19]. Available from: https:// hri.global/what-is-harm-reduction/
National Harm Reduction Coliation. Principle of harm reduction [Internet]. [cite 2023 Jan 19] Available from: https://harmreduction.org/about-us/principles-of-harm-reduction/
มัซตูรา ฮะ,รัตติยา สันเสรี, กิ่งกมล เตี้ยนวล. ผลการใช้แนว ปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเฮโรอีนระยะบำบัด ยาและระยะฟื้นฟูสมรรถภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานการวิจัย) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://dric.nrct.go.th/Search/ SearchDetail/297473
ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดแม่ฮ่องสอน. แนวทางการบำบัด รักษาผู้เสพติดฝิ่นขั้นบำบัดด้วยยา. แม่ฮ่องสอน: ศูนย์บำบัด รักษายาเสพติดแม่ฮ่องสอน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
ศิรินทิพย์ โกนสันเทียะ. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เมืองยาง อำเภอ เมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนีนครราชสีมา 2554;7(1):32-42.
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, พิชสุดา เดชบุญ, กฤติเดช มิ่งไม้, ศศิวิมล โพธิ์ ภักตร์, สานุรักษ์ โพธิ์ หา, สุชานรี พานิชเจริญ. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอสีชมพู จังหวัด ขอนแก่น. วารสารราชพฤกษ์ 2560;15(2):16-26.
อิศวร ดวงจินดา. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24(6):1118-26.
ภาวัต วรรธสุภัทร. คุณภาพชีวิตตำรวจจราจรชั้นประทวนใน เขตกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 [วิทยานิพนธ์หลักสูตร ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550. 133 หน้า.
Santos-de-Pascual A, López-Cano LM, Alcántara-López M, Martínez-Pérez A, Castro-Sáez M, Fernández VF, et.al. Effect of residential multimodal psychological treatment in an addicted population, at 6 and 12 months: differences between men and women. Frontiers in Psychiatry 2022;13(862858):1-9.
สุกุมา แสงเดือนฉาย, สำเนา นิลบรรพ์, ธัญญา สิงโต, สีอรุณ แหลมภู่, กาญจนา ภูยาธร. ผลการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด แบบผู้ป่วยในระยะยาว (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2564.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.