การประเมินผลการเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิของระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบ

ผู้แต่ง

  • นิ่มอนงค์ สายรัตน์ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

บริการสุขภาพปฐมภูมิ, ระบบหลักประกันสุขภาพ, การเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิของระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยประเมินผลในมุมมองของการออกแบบและการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบที่สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562 และประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิเรื่องบริการสุขภาพปฐมภูมิที่บุคคลมีสิทธิได้รับ พ.ศ.2563 โดยการศึกษารูปแบบและปริมาณการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิใน แต่ละกองทุน รวมทั้งสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ เป็นวิธีการศึกษาแบบ ผสมวิธี ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและกลไกการจ่ายสำหรับบริการสุขภาพปฐมภูมิ และข้อมูลเชิงปริมาณ การมารับบริการ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ (1) บริการผู้ป่ วยนอกของ 3 ระบบ (2) บริการ ในรายการที่จัดว่าเป็นบริการสุขภาพปฐมภูมิของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและระบบประกันสังคม โดยใช้ฐานข้อมูลการเบิกจ่ายของกองทุนประกันสุขภาพ พ.ศ. 2564 คัดเฉพาะตัวอย่างประเด็นบริการผู้ป่ วยนอก บริการส่งเสริมสุขภาพป้ องกันโรค การดูแลระยะกลาง และการดูแลระยะยาว และ (3) บริการในรายการที่จัดว่าเป็น บริการสุขภาพปฐมภูมิของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้ข้อมูลจากรายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 คัดเฉพาะตัวอย่างประเด็นบริการผู้ป่ วยนอก บริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้ องกันโรค การดูแลผู้ป่ วยระยะกลางและผู้ป่ วยระยะยาว และการบริการป้ องกันโรคเอชไอวี ผลการศึกษา พบว่า ระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบ มีรูปแบบการจ่ายทีแตกต่างกัน และยังมีการจ่ายไม่ครบถ้วนตามรายการบริการของ ่ ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ อีกทั้งมีปริมาณการใช้บริการที่แตกต่างกัน โดยอัตราการมารับบริการ ผู้ป่ วยนอกมากที่สุดคือ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3.44 ครั้งต่อคนต่อปี รองลงมาคือ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 2.88 ครั้งต่อคนต่อปี และระบบประกันสังคม 2.49 ครั้งต่อคนต่อปี สำหรับข้อเสนอแนะ ระยะกลาง เห็นควรให้สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ ประสานกับกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ เพื่อสร้าง เป้ าหมายของระบบที่มุ่งเน้นคุณค่า และเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาชุดข้อมูลมาตรฐานด้าน บริการสุขภาพปฐมภูมิและกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสุขภาพ เพื่อนำไปสู่กลไกการจ่ายแบบมุ่งเน้นคุณค่า และยกระดับ ประสิทธิผลของการบริการสุขภาพปฐมภูมิ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. สาธารณสุขมูลฐาน ระบบบริการปฐม ภูมิ และเวชศาสตร์ครอบครัว นิยาม ความหมาย และความ เชื่อมโยง. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์- ครอบครัว 2552;6:11-5.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. วิวัฒนาการการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย (พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2557) [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้น เมื่อ 20 มิ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://phc.moph.go.th/ www_hss/data_center/ifm_mod/nw/phc-thai.pdf

World Health Organization Regional Office for SouthEast A. Monitoring progress on universal health coverage and the health-related Sustainable Development Goals in the WHO South-East Asia Region: 2021 update. NewDelhi: World Health Organization, Regional Office for South-East Asia; 2021.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2559-2560 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์; 2562.

Jovic VK, Chuakhamfoo S, Nakittipha.N. Extending social health protection in Thailand: accelerating progress towards universal health coverage [Internet]. 2021 [cited 2022 May 20]. Available from: https://www.ilo. org/asia/publications/WCMS_831137/lang--en/index.htm

UNEP-LEAP.The Primary Care System Act B.E. 2562 (2019) [Internet] .2019 [cited 2022 Jun 18]. Available from: https://leap.unep.org/countries/th/national-legislation/primary-care-system-act-be-2562-2019

คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง บริการสุขภาพ ปฐมภูมิที่บุคคลมีสิทธิได้รับ. พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 25 ก.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: www. dl.parliament.go.th/20.500.13072/571797

Akpan A, Roberts C, Bandeen-Roche K, Batty B, Bausewein C, Bell D, et al. Standard set of health outcome measures for older persons. BMC Geriatr 2018;18(1):36.

World Economic Forum. Value in Healthcare (ViHC) guide for health system transformation initiatives in collaboration with the Boston consulting Group [Internet]. 2018 [cited 2022 Jun 18]. Available from:https:// www3.weforum.org/docs/WEF_ViHC_User_Guide_ Exer_Sum.pdf

Werner RM, Emanuel E, Pham HH, Navathe AS. the future of value-based payment: a road map to 2030 [Internet]. 2021 [cited 2022 Jun 18]. Available from: https://Ldi.upenn.edu/our-work/research-updates/thefuture-of-value-based=payment-a-road-map

Collins B. Payments and contracting for integrated care [Internet]. 2019 [cited 2023 Jun 1]. Available from: https://kingsfund.org.uk/publications/payments-contracting-integrated-care

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ