ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียด ภายหลังการเรียนออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ไชยแก้ว สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพเเละการกีฬามหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • นิตัสนีม นิเด สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพเเละการกีฬามหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ปฏิพัทธ์ พรมแก้ว สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพเเละการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • พิรุณรัตน์ แซ่ลิ้ม สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพเเละการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ยมล พิทักษ์ภาวศุทธิ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพเเละการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ชวลิน อินทร์ทอง หน่วยนวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ความเครียด, การเรียนออนไลน, โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางเพื่อศึกษาความชุกของความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์ กับความเครียดภายหลังการเรียนออนไลน์อย่างต่อเนื่องของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง คำนวณขนาด กลุ่มตัวอย่างด้วยสูตร Taro Yamane ได้จำนวน 385 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม 2565 ประกอบด้วย แบบวัดความเครียดทีเกี ่ ่ยวเนื่องกับอุปสรรคของการเรียนออนไลน์ แบบวัดภาวะเหนื่อยล้า และแบบวัดระดับความเครียด (SPST-20) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 0.98 และ 0.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียด โดยใช้สถิติ binary logistic regression ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระดับชั้นปี ที่ 2 คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา นิสิตมีผลการเรียนตั้งแต่ 3.01 ขึ้นไป การ ศึกษาภาวะเหนื่อยล้า กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่มีภาวะเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ อยู่ระดับต่ำ (ร้อยละ 40.8) ด้านการลดความเป็นบุคคล อยู่ระดับต่ำ (ร้อยละ 39.7) และด้านความสำเร็จส่วนบุคคล ลดลง อยู่ระดับสูง (ร้อยละ 71.2) การศึกษาความเครียด นิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดรุนแรง (ร้อยละ 46.0) รอง ลงมาคือ มีความเครียดสูง (ร้อยละ 27.3) และความเครียดปานกลาง (ร้อยละ 22.3) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ กับความเครียดภายหลังการเรียนออนไลน์อย่างต่อเนื่องพบว่า ปัจจัยด้านความเข้าใจเนื้อหาของการเรียนออนไลน์ (ORadj 1.18, 95%CI=1.07-1.31) และปัจจัยด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (ORadj 1.19, 95%CI=1.06-1.39) มีความสัมพันธ์กับความเครียดภายหลังการเรียนออนไลน์อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์โควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05)

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [cited 2021 Dec 15]. Available from: https://www.who.int/emergencies/ diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19

มหาวิทยาลัยทักษิณ. แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในกรณีสถานการณ์ไม่ปกติ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 28 ธ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.tsu.ac.th/ost/ UserFiles/1592980913_Image_004.pdf

สิริพร อินทสนธิ์ . โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ 2563;22(2):203-14.

ชฎาภา ประเสริฐทรง, จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา, พรชนา กลัดแก้ว. ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียน ่ ออนไลน์ จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2564;15(1): 14-28.

รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ, อนุรักษ์ แท่นทอง. ผลกระทบและ กลยุทธ์การรับมือในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาภายใต้ สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19. Journal of Modern Learning Development 2565;7(4):208-33.

นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ, นิดา ลิ้มสุวรรณ, ศิริไชย หงษ์สงวนศรี, บัญญัติ ยงย่วน. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2564;66(1):53-68.

Yamane T. Statistics, an introductory analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row; 1967.

ชุติมา ไชยแก้ว, นิตัสนีม นิเด, ปฏิพัทธ์ พรมแก้ว, ชวลิน อินทร์ทอง, พิรุณรัตน์ แซ่ลิ้ม, ยมล พิทักษ์ภาวศุทธิ. ความชุก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ อย่างต่อเนื่องของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายภาคใต้ ครั้งที 8; 21 กุมภาพันธ์ 2566; มหาวิทยาลัย- ่ ราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2566.

ลักษมี ฉิมวงษ์. ความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ใน สถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ของนิสิตสาขา พลศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2564;10(1):1-19.

ชัยยุทธ กลีบบัว, พรรณระพี สุทธิวรรณ. การพัฒนาโมเดล เชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน. วารสารวิธี- วิทยาการวิจัย 2552;22(3):411-26.

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (SPST-20) [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [สืบค้นเมื่อ 22 ธ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://envocc.ddc.moph.go.th/ uploads/ประชุม/20-21_11_61/C_4.pdf

พรนภา พัฒนวิทยากุล, ธนภรณ์ ตั้งศิลาถาวร, พัทธ์พิชญา พิชญวณิชย์, ศณธร โกมลมณี, กฤตยชญ์ อนรัชพงศ์, วทัญญู เลิศวัชรโสภากุล, และคณะ. ความเครียดระหว่างการเรียน ออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29(4):273-85.

โรจกร ลือมงคล. ความเครียดในการเรียนออนไลน์ช่วงการ ระบาดของโรคโควิด-19: กรณีศึกษาในนักเรียนมัธยมศึกษา ของโรงเรียนคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565;16(3):772-83.

กอเกษ ต่ายเกิด, ครองขวัญ รั้วมั่น, นิรุชา ปรีชาเลิศศิลป์ , วินิทรา นวลละออง, ปนัดดา โรจน์พิบูลสถิต. ความชุกและ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะหมดไฟ (burnout syndrome) ใน นักศึกษาแพทย์ระดับชั้นพรีคลินิก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Thammasat Medical Journal 2019;(19):S217-S238.

อารีรัตน์ สิริพงศ์พันธ์, การุญพงค์ ภัทรามรุต, นิวัฒนิชัย นามวิชัยศิริกุล, เศรษฐวิทย์ ภูฉายา. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและภาวะเครียดในนักศึกษาชั้นปี ที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี [รายงานวิจัย]. นครราชสีมา: เทคโนโลยี- สุรนารี; 2561. 64 หน้า.

ศรีสกุล เฉียบแหลม, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ. ภาวะหมดไฟ ในการทางาน. Royal Thai Air Force Medical Gazette ํ 2561;65(2):44-52.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ