การศึกษาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยวิธีตรวจแบบรวมตัวอย่าง (Pooled Sample Test) และวิธีการตรวจรายบุคคล (Individual Test)

ผู้แต่ง

  • นฤพัชร สวนประเสริฐ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์
  • ระวีวรรณ พิสิฐพงศ์ธร สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์
  • ปัทมพงค์ ใจกลม สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์
  • นพรัตน์ แก้วหานาม สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์
  • สุชาติ หาญไชยพิบูลย์กุล สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์

คำสำคัญ:

โควิด-19, การตรวจคัดกรอง, วิธี pooled sample test

บทคัดย่อ

การตรวจมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ real-time polymerase chain reaction (RTPCR) แต่การตรวจดังกล่าวมีข้อจำกัดในการนำมาใช้ค้นหาผู้ป่ วยติดเชื้อที่ไม่มีอาการ เนื่องจากสิ่งส่งตรวจมีปริมาณ มาก ปริมาณที่สามารถตรวจได้ต่อวันมีจำกัดและค่าใช้จ่ายสูง การตรวจ RT-PCR ด้วยวิธี pooled sample test พบว่า มีความไว (sensitivity) ไม่แตกต่างจากการตรวจด้วยวิธี individual test แต่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า โดยค่าใช้จ่ายที่ลดลง ขึ้นอยู่กับอัตราการตรวจพบความผิดปกติของสิ่งส่งตรวจและจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสมต่อ 1 pooled sample test การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR แบบ pooled sample testing และ individual test ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่มีอาการ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564 โดยเป็นการศึกษาเชิงบรรยาย โดยนำลำดับในการลงทะเบียนเพื่อตรวจคัดกรองการติดเชื้อ โควิด-19 มาจัดเป็นกลุ่มๆละ 4, 8, 10 และ 12 ตัวอย่าง แล้วเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่าง pooled sample testing และ individual test ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่มีอาการ 1,555 คน ได้รับการตรวจด้วยวิธี RT-PCR แบบ individual test มีผลการตรวจเป็นบวก 47 คน (ร้อยละ 3.0) แยกเป็นเดือนพฤษภาคม ร้อยละ 0.9 เดือนมิถุนายน ร้อยละ 0.7 และเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 3.5 (2) การส่งตรวจแบบ pooled sample test มีค่าใช้จ่าย ในการส่งตรวจน้อยกว่า individual test และ (3) ในกรณีที่อัตราความผิดปกติของส่งตรวจที่น้อยกว่าร้อยละ 1.0 จำนวนสิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมคือ 8 ตัวอย่างต่อ 1 pooled sample test และในกรณีที่อัตราความผิดปกติของสิ่ง ส่งตรวจที่ร้อยละ 3.0 จำนวนสิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมคือ 4 ตัวอย่างต่อ 1 pooled sample test ผลการศึกษานี้สามารถ นำไปใช้ประกอบการพิจารณาการวางแผนการตรวจคัดกรองการติดเชื้อโควิด-19 ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Mahmoud SA, Ibrahim E, Thakre B, Teddy JG, Raheja P, Ganesan S, et al. Evaluation of pooling of samples for testing SARS-CoV- 2 for mass screening of COVID-19. BMC Infect Dis 2021;21(1):360.

Sawicki R, Korona-Glowniak I, Boguszewska A, Stec A, Polz-Dacewicz M. Sample pooling as a strategy for community monitoring for SARS-CoV-2. Sci Rep 2021;11(1):3122.

Brault V, Mallein B, Rupprecht JF. Group testing as a strategy for COVID-19. epidemiological monitoring and community surveillance. PLoS Comput Biol 2021; 17(3):e1008726.

Wacharapluesadee S, Kaewpom T, Ampoot W, Ghai S, Khamhang W, Worachotsueptrakun K, et al. Evaluating the efficiency of specimen pooling for PCR-based detection of COVID-19. J Med Virol 2020;92(10):2193- 9.

Abdalhamid B, Bilder CR, McCutchen EL, Hinrichs SH, Koepsell SA, Iwen PC. Assessment of specimen pooling to conserve SARS CoV‐2 testing resources. Am J Clin Pathol 2020;153:715‐8.

Costa MS, Sato HI, Rocha RP, Carvalho AF, Guimarães NS, Machado EL, et al. Adjusting the Cut-Off and Maximum Pool Size in RT-qPCR Pool Testing for SARSCoV-2. Viruses 2021;13(4):557.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้