ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมดุลชีวิตการทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลภาครัฐ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วิระพร งามภูเขียว ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จารุวรรณ ธาดาเดช ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิริณธิ์ กิตติพิชัย ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สมดุลชีวิตการทำงาน, นักเทคนิคการแพทย์, โรงพยาบาลภาครัฐ

บทคัดย่อ

การจัดการบุคลากรให้มีสมดุลชีวิตการทำงานช่วยรักษาบุคลากรให้คงอยู่ในองค์กรได้ การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมดุลชีวิตการทำงานและปัจจัย            ที่เกี่ยวข้องกลุ่มตัวอย่างนักเทคนิคการแพทย์ ในโรงพยาบาลภาครัฐ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ประเทศไทย จำนวน 852 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (google form) ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2566  เครื่องมือวิจัยมีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 และแบบวัดมีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟา 0.84 - 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอนโดยกำหนดระดับนัยสำคัญสถิติที่น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษาพบว่าสมดุลชีวิตการทำงานของนักเทคนิคการแพทย์อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมดุลชีวิตการทำงาน (p-value < 0.05) ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงานในวิชาชีพ ระยะเวลาทำงานในโรงพยาบาล การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ วัฒนธรรมการทำงาน และประเภทของโรงพยาบาล โดยมี 5 ปัจจัยที่ทำนายสมดุลชีวิตการทำงาน ได้แก่ วัฒนธรรมการทำงาน ประเภทโรงพยาบาล จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ ระยะเวลาทำงานในโรงพยาบาล และการสนับสนุนจากครอบครัวโดยร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 20.10 (Beta = 0.31, 0.16, 0.15, 0.12 และ 0.07 ตามลำดับ)

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้